มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

การศึกษาโครงกระดูกมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์จากแหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี

ชื่อเรื่อง
การศึกษาโครงกระดูกมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์จากแหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี
ผู้แต่ง
ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล
ประเภทเอกสารวิชาการ
วิทยานิพนธ์
ภาษา
ไทย
ตำแหน่งของเอกสาร
ปี
2009
วันที่
เผยแพร่
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
หัวเรื่อง
บทคัดย่อ

การศึกษาโครงกระดูกมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์จากแหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว จังหวัดลพบุรีในครั้งนี้ ใช้วิธีการศึกษาวิเคราะห์ด้วยตาเปล่าจากตัวอย่างโครงกระดูกมนุษย์จำนวน 51 โครง และนำข้อมูลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับข้อมูลของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์จากแหล่งโบราณคดีอื่นในภูมิภาคใกล้เคียง ผลการศึกษานอกจากจะทำให้ทราบถึงลักษณะทางกายวิภาคของคนในชุมชนโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ในแหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาวแล้ว ยังสามารถนำไปตีความได้ถึงแบบแผนการดำรงชีวิตบางประการ

ผลการศึกษาพบว่าประชากรในยุคก่อนประวัติศาสตร์ของแหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาวมีอายุเมื่อตายส่วนใหญ่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ส่วนสูงเฉลี่ยประมาณ 165-171 เซนติเมตร ในเพศชาย และ 154 – 159 เซนติเมตร ในเพศหญิง เพศหญิงมีใบหน้าส่วนล่างที่กว้างกว่าเพศชายเล็กน้อย ขนาดกระดูกโดยทั่วไปของเพศชายมีขนาดที่ยาวและใหญ่กว่าเพศหญิง แต่จากค่าดัชนีในกระดูกส่วนแขน-ขาชี้ให้เห็นว่าในเพศหญิงมีการใช้แรงของร่างกายในการทำกิจกรรมไม่แตกต่างจากเพศชาย และมีหลักฐานชี้ให้เห็นว่าน่าจะทำกิจกรรมที่ใช้กำลังแขนมากกว่าในเพศชาย จากอัตราการเสียชีวิตในวัยเด็กและหลักฐานของโรคภัยไข้เจ็บชี้ให้เห็นว่าผู้คนในชุมชนนี้มีสุขภาพอนามัยที่ค่อนข้างดี

เอกสารฉบับเต็ม