มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

สุขภาพประชากรสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย-สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น จากแหล่งโบราณคดีโนนป่าช้าเก่า บ้านกระเบื้อง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

ชื่อเรื่อง
สุขภาพประชากรสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย-สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น จากแหล่งโบราณคดีโนนป่าช้าเก่า บ้านกระเบื้อง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
ผู้แต่ง
นฤพล หวังธงขัยเจริญ
ประเภทเอกสารวิชาการ
วิทยานิพนธ์
ภาษา
ไทย
ตำแหน่งของเอกสาร
ปี
2018
วันที่
เผยแพร่
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
หัวเรื่อง
บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงสุขภาพโดยรวมของตัวอย่างประชากร ผลการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของสุขภาพระหว่างเพศภายในกลุ่มประชากร และระหว่างกลุ่มประชากรอื่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างโครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากพิธีกรรมการฝังศพครั้งที่สองในภาชนะดินเผาจากแหล่งโบราณคดีโนนป่าช้าเก่า บ้านกระเบื้อง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 305 โครง มีผลกำหนดอายุเชิงสัมบูรณ์และเชิงเทียบระหว่าง 2,500 ปีมาแล้วถึงพุทธศตวรรษที่ 15 ประมาณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย-สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น ด้วยวิธีการสังเกตด้วยตาเปล่าจากตัวชี้วัดด้านสุขภาพใน 4 กลุ่มคือข้อมูลทางประชากรศาสตร์สมัยโบราณ สุขภาพในช่องปาก ทุพโภชนาการและรอยโรคเกี่ยวกับระบบเผาผลาญ กับรอยโรคและอาการความเจ็บไข้ต่าง ๆ

ผลการศึกษาพบว่าประชากรโนนป่าช้าเก่ามีภาวะสุขภาพโดยรวมดี มีอัตราการตายของทารกและเด็กในระดับต่ำ มีอัตรารอดของเด็กที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่สูง แต่มีระดับภาวะเจริญพันธุ์ต่ำ มีปัญหาสุขภาพในช่องปากสูงทั้งรอยโรคปริทันต์อักเสบและการสูญเสียฟันขณะมีชีวิต มีภาวะโภชนาการของทารกและเด็กค่อนข้างดี พบการเสื่อมสภาพของข้อกระดูกส่วนใหญ่บริเวณข้อไหล่ ข้อเข่า และข้อสะโพก ภายในกลุ่มประชากรพบเพศชายมีปัญหาสุขภาพในช่องปากมากกว่าเพศหญิง แต่ไม่พบความแตกต่างของภาวะทุพโภชนาการในวัยทารกและเด็ก แสดงได้ถึงความแตกต่างจากปัจจัยทางวัฒนธรรม เช่น พฤติกรรมการบริโภค สุขอนามัยในช่องปาก หรือความไม่เท่าเทียมทางเพศภายในสังคม เมื่อเทียบกับประชากรยุคก่อนประวัติศาสตร์ภายในลุ่มน้ำมูลพบว่ามีสุขภาพโดยรวมดีกว่าประชากรกลุ่มอื่น โดยมีอัตราตายของทารกและเด็กระดับต่ำ มีโภชนาการในช่วงทารกและเด็กดีกว่า แต่พบปัญหาสุขภาพในช่องปากมากกว่า ตรงข้ามกับผลคาดการณ์ว่าประชากรจะมีสุขภาพเสื่อมลงในสังคมที่มีความซับซ้อนขึ้นกับมีพัฒนาการเกษตรกรรมแบบเข้มข้นกว่าที่ผ่านมา

เอกสารฉบับเต็ม