มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

TRAUMA AND CONFLICT IN PREHISTORIC SOUTHEAST ASIA: A LIFE OF WAR OR PEACE?

ชื่อเรื่อง
TRAUMA AND CONFLICT IN PREHISTORIC SOUTHEAST ASIA: A LIFE OF WAR OR PEACE?
ผู้แต่ง
ลูซิลล์ พีเดอร์เซ่น
ประเภทเอกสารวิชาการ
วิทยานิพนธ์
ภาษา
อังกฤษ
ตำแหน่งของเอกสาร
ปี
2017
วันที่
เผยแพร่
วิทยาลัยแพทยศาสตร์และทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเจมส์คุก
หัวเรื่อง
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุ ความชุก และรูปแบบร่องรอยการบาดเจ็บต่าง ๆ บนกระดูก (trauma) ที่แสดงถึงความขัดแย้งหรือความรุนแรงภายในสังคม ด้วยการศึกษาร่องรอยการบาดเจ็บที่พบบนโครงกระดูกสมัยเหล็กจากแหล่งโบราณคดีโนนบ้านจาก ตำบลคอหงส์ อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ในการขุดค้นระหว่าง พ.ศ. 2554-2558 และการเปรียบเทียบกับรายงานผลการวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์จากแหล่งโบราณคดีต่าง ๆ ในเอเชียตะวันตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นแผ่นดินใหญ่ เพื่อทดสอบสมมติฐานว่าความชุกหรือความถี่ของรอยโรคการบาดเจ็บบนกระดูกจะเพิ่มมากขึ้นจากสมัยหินใหม่ถึงสมัยเหล็ก เป็นผลจากพัฒนาการทางสังคม-การเมืองที่ซับซ้อนขึ้น ความหนาแน่นของจำนวนประชากร และการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม

ผลการศึกษาพบว่าประชากรผู้ใหญ่โนนบ้านจากประมาณ 1 ใน 4 พบร่องรอยการบาดเจ็บบนกระดูกที่เกิดขึ้นในขณะมีชีวิต เพศชายมักพบร่องรอยการบาดเจ็บในส่วนกะโหลกศีรษะบนและเท้าต่างจากเพศหญิงที่พบการบาดเจ็บในส่วนไหปลาร้า ซี่โครง และส่วนปลายแขน โดยส่วนใหญ่เป็นผลที่เกิดจากอุบัติเหตุหรือการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตามการพบร่องรอยการบาดเจ็บบนกะโหลกศีรษะบน และลักษณะกระดูกแตกแบบ parry (parry fracture) บนกระดูกปลายแขนด้านในที่เป็นการบาดเจ็บจากการยกแขนป้องกันตัวก็บ่งชี้ถึงความขัดแย้งระหว่างบุคคลภายในสังคมได้โดยนัยหนึ่ง

ความชุกของรอยโรคการบาดเจ็บของประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 7.8 ในสมัยหินใหม่ เป็นร้อยละ 12.6 ในสมัยเหล็ก สอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดี เช่น สิ่งก่อสร้างประเภทป้อมค่าย อาวุธเหล็กประเภทดาบ หัวหอกหรือหัวอาวุธแบบโพรเจกไทล์ต่าง ๆ ที่พบในสมัยเหล็ก แสดงถึงความขัดแย้งที่เพิ่มสูงขึ้นตามระดับพัฒนาการความซับซ้อนทางสังคม

เอกสารฉบับเต็ม