มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

SOCIAL ORGANISATION AND THE RISE OF CIVILISATION IN THE MUN RIVER VALLEY, THAILAND

ชื่อเรื่อง
SOCIAL ORGANISATION AND THE RISE OF CIVILISATION IN THE MUN RIVER VALLEY, THAILAND
ผู้แต่ง
ชาร์ลอตต์ หลุยส์ คิง
ประเภทเอกสารวิชาการ
วิทยานิพนธ์
ภาษา
อังกฤษ
ตำแหน่งของเอกสาร
ปี
2013
วันที่
เผยแพร่
คณะสังคมศาสตร์และสุขภาพ มหาวิทยาลัยเดอรัม
หัวเรื่อง
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการของสังคมซับซ้อนและกำเนิดของรัฐแรกเริ่มในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในเขตลุ่มแม่น้ำมูลตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยใช้โครงกระดูกมนุษย์ที่ขุดค้นจากแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ในระหว่าง พ.ศ 2545-2550 มีลำดับพัฒนาการทางวัฒนธรรมตั้งแต่สมัยหินใหม่ถึงยุคประวัติศาสตร์ตอนต้น ประมาณ 1,500-3,700 ปีมาแล้ว เป็นตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา

การศึกษาประกอบด้วยการวิเคราะห์ไอโซโทปเสถียรของสตรอนเซียม คาร์บอน และออกซิเจน จากตัวอย่างเคลือบฟันของโครงกระดูก ควบคู่กับการวิเคราะห์ลักษณะที่วัดไม่ได้ (non-metric trait) หรือลักษณะความแปรปรวนของฟันตัดและฟันกราม และการวัดทางสัณฐานทางเรขาคณิต (geometric morphometric) ของกะโหลกศีรษะบน เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับประเด็นการเคลื่อนย้ายของประชากร ระบบเครือญาติ อาหารและรูปแบบการดำรงชีพ การจัดระเบียบองค์กรทางสังคม รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ ระบบนิเวศน์ และสภาพแวดล้อมในช่วงสมัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อพัฒนาการทางสังคม โดยนำเสนอผลการศึกษาในรูปบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการต่าง ๆ จำนวน 4 บทความด้วยกัน คือ

1) Social organization in the Prehistoric Mun River Valley: The story from the isotopes at Ban Non Wat.

2) Mixed economies after the agriculture revolution in Southeast Asia?

3) Moving peoples, changing diets: Isotopic differences highlight migration and subsistence changes in the Upper Mun River Valley, Thailand.

4) Isotopes and osteology: Using the multi-disciplinary approach to establish population affinity at Ban Non Wat, Thailand.

สรุปโดยย่อ พบว่ามีการเคลื่อนย้ายของประชากรจากภายนอกเข้ามาที่แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัดเฉพาะสมัยหินใหม่ โดยสัณฐานของกะโหลกศีรษะบนแตกต่างเล็กน้อยระหว่างกลุ่มที่ถูกฝังในท่านอนงอเข่ากับกลุ่มที่ถูกฝังในท่านอนหงายเหยียดยาว ไม่ปรากฏรูปแบบเฉพาะของระบบเครือญาติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่แล้งขึ้นในสมัยสำริดเป็นสมัยเหล็กส่งผลให้กลุ่มประชากรปรับเปลี่ยนวิถีการยังชีพและประเภทของอาหาร และสุดท้ายการจัดระเบียบองค์กรทางสังคมมีแนวโน้มเป็นความสัมพันธ์แบบหลายมิติ (heterarchy) มากกว่าความสัมพันธ์แบบลำดับขั้น (hierarchy)

เอกสารฉบับเต็ม