มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

HUMAN SKELETAL HEALTH AND DIETARY ASSESSMENT OF METAL AGE CENTRAL THAILAND: THE IMPACT OF CHANGING SOCIAL COMPLEXITY AND REGIONAL VARIATION

ชื่อเรื่อง
HUMAN SKELETAL HEALTH AND DIETARY ASSESSMENT OF METAL AGE CENTRAL THAILAND: THE IMPACT OF CHANGING SOCIAL COMPLEXITY AND REGIONAL VARIATION
ผู้แต่ง
ฉิน-สิน หลิว
ประเภทเอกสารวิชาการ
วิทยานิพนธ์
ภาษา
อังกฤษ
ตำแหน่งของเอกสาร
ปี
2012
วันที่
เผยแพร่
บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยฟลอริดา
หัวเรื่อง
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบด้านสุขภาพ รูปแบบการบริโภคอาหาร ที่เกิดจากพัฒนาการทางสังคมในสมัยโลหะ ในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ว่าเมื่อสังคมมีพัฒนาการซับซ้อนขึ้น มีการจัดระเบียบองค์กรทางสังคมและระดับช่วงชั้นทางสังคม ส่งผลให้ภายในกลุ่มประชากรมีความแตกต่างของภาวะสุขภาพและการบริโภคอาหาร

กลุ่มประชากรที่ใช้ศึกษาเป็นตัวอย่างโครงกระดูกจากแหล่งโบราณคดีสมัยโลหะในภาคกลางจำนวน 5 แหล่ง คือ แหล่งโบราณคดีโนนหมากลา บ้านโป่งมะนาว พรหมทินใต้ เขาทรายอ่อน จังหวัดลพบุรี และแหล่งโบราณคดีบ้านใหม่ชัยมงคล จังหวัดนครสวรรค์ และในภาคตะวันออก 1 แหล่งที่โคกพนมดี จังหวัดชลบุรี

สำหรับวิธีการศึกษาประกอบด้วย 1) การศึกษาด้วยการสังเกตด้วยตาเปล่ารอยโรคในช่องปาก เช่น ฟันผุ คราบหินปูน ลักษณะเคลือบฟันเจริญพร่องเป็นเส้นตรง และรอยโรคต่าง ๆ บนกระดูก เช่น ร่องรอยการบาดเจ็บบนกระดูก รอยโรคความผิดปกติของระบบเผาผลาญ และการเสื่อมสภาพของข้อกระดูก และ 2) การศึกษาวิเคราะห์ค่าไอโซโทปเสถียรของคาร์บอนและไนโตรเจนของคอลลาเจนและอะพาไทด์ของตัวอย่างกระดูกและเคลือบฟัน

ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มประชากรสมัยโลหะมีภาวะสุขภาพโดยรวมดีขึ้น ภายหลังการเปลี่ยนรูปแบบการยังชีพเป็นการเกษตรกรรม พบความชุกของรอยโรคในช่องปากและร่องรอยการบาดเจ็บบนกระดูกในระดับต่ำ ด้วยเหตุว่าสภาพพื้นที่มีขอบเขตจำกัด ทำให้สามารถควบคุมหรือจำกัดการติดต่อกับประชากรภายนอกได้ อีกทั้งมีจำนวนประชากรไม่หนาแน่นนักทำให้ปรากฏรอยโรคติดเชื้อและการบาดเจ็บบนกระดูกในระดับต่ำ มีการบริโภคอาหารคาร์โบไฮเดรตที่ได้ทั้งจากพืชในกลุ่มตระกูล C3 และ C4 สอดคล้องกับระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมของพื้นที่ และสุดท้ายระดับพัฒนาการทางสังคมที่ซับซ้อนไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพและพฤติกรรมการบริโภคของกลุ่มประชากรแต่อย่างใด

เอกสารฉบับเต็ม