มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

PATTERNS OF CRANIOMETRIC VARIATION IN MODERN THAI POPULATIONS: APPLICATIONS IN FORENSIC ANTHROPOLOGY AND IMPLICATIONS FOR POPULATION HISTORY

ชื่อเรื่อง
PATTERNS OF CRANIOMETRIC VARIATION IN MODERN THAI POPULATIONS: APPLICATIONS IN FORENSIC ANTHROPOLOGY AND IMPLICATIONS FOR POPULATION HISTORY
ผู้แต่ง
ลอเรล เอลิซาเบธ ฟรีส
ประเภทเอกสารวิชาการ
วิทยานิพนธ์
ภาษา
อังกฤษ
ตำแหน่งของเอกสาร
ปี
2011
วันที่
เผยแพร่
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟลอริดา
หัวเรื่อง
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัณฐานของกะโหลกศีรษะกลุ่มประชากรไทยปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการประเมินเพศทางนิติเวชหรือนิติมานุษยวิทยาและการศึกษาด้านประวัติ ที่มาของกลุ่มประชากร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาประกอบด้วยกลุ่มโครงกระดูกมนุษย์ในความดูแลและจัดการของภาควิชากายวิภาคศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวนรวม 429 โครง เป็นเพศชาย 242 คน และเพศหญิง 137 คน อายุเมื่อตาย 22-95 ปี ทำการศึกษาด้วยการวัดกะโหลกศีรษะตามระบบเมตริก (craniometric) จุดอ้างอิงหรือจุดกำหนดการวัดจำนวน 24 จุด ตามเกณฑ์มาตรฐานสากลของ Moore-Jansen et al. (1994) และการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

ผลการเปรียบเทียบกะโหลกศีรษะระหว่างเพศชายและเพศหญิงพบจุดกำหนดการวัดหรือจุดอ้างอิงหลายจุดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการประเมินเพศของโครงกระดูก โดยเฉพาะภายในกลุ่มประชากรไทยปัจจุบันได้ ส่วนผลการเปรียบเทียบระหว่างประชากรทั้ง 3 กลุ่มภูมิภาค ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นว่าแม้ประชากรไทยปัจจุบันมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ภาษา รวมทั้งลักษณะทางกายภาพ แต่ทั้งหมดกลับมีขนาดหรือสัณฐานของกะโหลกศีรษะใกล้เคียงกัน

เอกสารฉบับเต็ม