มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B1

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B1
หมายเลขหลุมฝังศพ
1
หมายเลขโครงกระดูก
1
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
?
วัย/อายุ
Middle adult, 33-45 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกนอนหงายเหยียดยาวตามแนวแกนทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ PSN2 กริด S14E11-12 ระดับชั้นดินสมมติ 80-100 (82-93) cm.dt.

สภาพกระดูกพบระเกะระกะ สภาพชำรุด กระดูกหายเป็นส่วนใหญ่ ไม่พบร่วมกับภาชนะดินเผาหรือวัตถุอุทิศอย่างใด เว้นแต่กระดูกข้อเท้าสัตว์ตระกูลวัว-ควาย จำนวน 1 ชิ้นวางอยู่บนกระดูกเชิงกรานซ้าย และชิ้นส่วนต่างหูเหล็กจำนวน 1 ชิ้น วางปะปนร่วมกับโครงกระดูก กำหนดอายุราวสมัยปลายวัฒนธรรมบ้านเชียง

สภาพกระดูกไม่สมบูรณ์ สามารถศึกษาได้ราวร้อยละ 15-20 กะโหลกศีรษะบนสภาพชำรุดมากพบเฉพาะกระดูกขม่อมและท้ายทอย ขากรรไกรล่างชำรุด กระดูกไหปลาร้าซ้ายและขวา สภาพชำรุดพบเฉพาะก้านกระดูก กระดูกสะบักซ้ายและขวาชำรุดพบเฉพาะลำตัว กระดูกต้นแขนซ้ายและขวาชำรุด หัวและปลายกระดูกแตกหัก กระดูกปลายแขนด้านนอกและด้านในซ้ายและขวาชำรุด หัวและปลายกระดูกแตกหักเช่นกัน บางส่วนของกระดูกข้อมือขวา ฝ่ามือขวากับซ้าย ส่วนที่พบสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ กระดูกซี่โครงและกระดูกสันหลังชำรุดหักหายส่วนใหญ่ กระดูกต้นขาซ้ายและขวาชำรุด พบเฉพาะก้านกระดูก กระดูกสะบ้าซ้ายและขวาพบสภาพสมบูรณ์ กระดูกหน้าแข้งซ้ายและขวากับกระดูกน่องซ้าย สภาพชำรุดพบเฉพาะส่วนหัวถึงกลางกระดูก กับบางส่วนของกระดูกข้อเท้า ฝ่าเท้า และนิ้วเท้า พบในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์

ร่องรอยผิดปกติบนกระดูก

1. กระดูกปลายแขนด้านนอกขวา ปลายกระดูกด้านไกลกลางด้านที่เชื่อมต่อกับกระดูกปลายแขนด้านใน (ulnar notch) พบลักษณะการสร้างผิวกระดูกใหม่ทับผิวกระดูกเดิม น่าจะเป็นอาการหนึ่งที่เกิดจากการติดเชื้อบาดแผลภายนอก ส่งผลให้เยื่อหุ้มกระดูกเกิดการอักเสบ

2. กระดูกปลายแขนด้านในขวา ตรงแนวก้านกระดูกด้านหน้า กับด้านหลังของก้านกระดูกต้นขา พบรอยแตกกระดูกตามแนวดิ่ง เกิดขึ้นด้วยการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ (อุณหภูมิ) ในกระบวนการทับถมและย่อยสลายของกระดูก (weathering)

3. กระดูกปลายแขนด้านในซ้าย ตรงสันกลางกระดูกด้านใกล้กลาง บริเวณ interosseus crest และก้านกระดูกหน้าแข้งซ้ายด้านหน้า พบรอยสับตัด (รอยเครื่องมือ) เป็นแนวตามสันกระดูก เป็นลักษณะที่เกิดขึ้นในกระบวนการทับถมและย่อยสลายของกระดูก

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ