มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B2

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B2
หมายเลขหลุมฝังศพ
2
หมายเลขโครงกระดูก
2
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
Male
วัย/อายุ
Adolescence, 15 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกวางฝังนอนหงายเหยียดยาว ตามแนวแกนทิศตะวันออกเฉียงใต้-ตะวันตกเฉียงเหนือ พื้นที่ PSN 2 กริด S15E12 ระดับชั้นดินสมมติ 80-110 (87-109) cm.dt.

โครงกระดูกสภาพไม่สมบูรณ์ ชำรุด โดยเฉพาะกะโหลกศีรษะ พบร่วมกับเศษภาชนะดินเผา 1 ชิ้น วางทับบนกระดูกต้นขาซ้ายของโครงกระดูก กำหนดอายุราวสมัยปลายของวัฒนธรรมบ้านเชียง

สภาพโครงกระดูกส่วนใหญ่ไม่สมบูรณ์ ชำรุด แตกหัก นำมาศึกษาได้ร้อยละ 60-65 ไม่พบในส่วนกระดูกสันหลังช่วงคอ กระดูกสันหลังช่วงลำตัวชิ้นที่ 5-10 และกระดูกสันหลังช่วงเอวชิ้นที่ 1-2 กระดูกกระเบนเหน็บ กระดูกปลายแขนด้านนอกซ้ายและขวา กระดูกข้อมือ ฝ่ามือ และนิ้วมือซ้ายและขวา บางส่วนของกระดูกซี่โครงซ้ายและขวา กระดูกเชิงกราน ischium ขวาและ pubis ซ้ายและขวา และกระดูกข้อเท้า ฝ่าเท้า และนิ้วเท้าซ้ายและขวา

กระดูกที่พบ บางส่วนก็มีลักษณะชำรุด แตกหัก โดยเฉพาะกะโหลกศีรษะบนที่พบแต่ด้านขวาของกะโหลก ด้านขวาของขากรรไกรบนและขากรรไกรล่าง นอกจากนี้ส่วนลำตัวกระดูกสะบักซ้ายและขวาก็มีลักษณะชำรุด แตกหัก เช่นเดียวกับส่วนปลายก้านกระดูกของกระดูกปลายแขนด้านในขวา กระดูกเชิงกราน ilium ซ้ายและขวา ส่วนหัวและปลายก้านกระดูกต้นขาขวา ปลายก้านกระดูกน่อง และบางส่วนของกระดูกซี่โครงซ้ายและขวามีลักษณะชำรุด แตกหักเช่นเดียวกัน

ร่องรอยผิดปกติที่พบบนกระดูก

1. กระดูกไหปลาร้าซ้ายและขวา บริเวณผิวล่างของ costal impressionและด้านหน้าของ sternal end พบลักษณะกระดูกงอก และรูปทรงของกระดูกเป็นรูปเหลี่ยมค่อนข้างผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นด้วยการอักเสบของกล้ามเนื้อ หรือแรงแค้นจากการกระทำส่วนมัดกล้ามเนื้อหน้าอก (pectoralis major muscle) ซึ่งทำหน้าที่หุบ งอ และหมุนต้นแขนเข้าข้างในและรั้งมาข้างหน้า (สนั่น สุขวัจน์ 2515)

2. กระดูกหน้าแข้งซ้าย บริเวณปลายบนของก้านกระดูก (proximal end) พบแนวกระดูกงอกที่เป็นเนื้อกระดูกพรุนใหม่ เป็นลักษณะหนึ่งที่เกิดจากการติดเชื้อ ส่งผลให้กระดูกอ่อนและหรือเยื่อหุ้มกระดูกเกิดการอักเสบ และสร้างกระดูกใหม่ทับแนวผิวกระดูกเดิม ส่วนกระดูกหน้าแข้งขวา บริเวณปลายบนของก้านกระดูกพบลักษณะของรอยสับตัดบนผิวกระดูกซึ่งเป็นร่องรอยที่เกิดขึ้นหลังการเสียชีวิต

3. กระดูกต้นขาซ้าย ด้านหลังของก้านกระดูก พบรอยเกาะของกล้ามเนื้อค่อนข้างชัดเจนตรงบริเวณ gluteal line หรือ tuberosity สัมพันธ์กับส่วนกล้ามเนื้อ gluteus maximus (muscle) ใช้สำหรับการหมุนของข้อต่อหัวกระดูกต้นขาและการเหยียดหัวเข่า

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ