มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B3

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B3
หมายเลขหลุมฝังศพ
3
หมายเลขโครงกระดูก
3
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
Male
วัย/อายุ
Young adult, 20-25 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกฝังตามแนวแกนทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ PSN2 กริด S14E12-13 ระดับชั้นดินสมมติ 100-140 (127-137) cm.dt.

สภาพโครงกระดูกค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ไม่พบส่วนกะโหลกศีรษะ มีการฝังศพโดยการทุบภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดงบนพื้นนวลอย่างน้อย 6 ใบทุบเพื่อวางรองและโปรยลงบนศพ พบร่วมกับลูกกลิ้งดินเผา 1 ชิ้นวางอยู่ข้างกระดูกซี่โครงขวา กระดูกขาหมูวางอยู่ด้านขวาของกระดูกต้นขาขวา และกระดูกขากรรไกรล่างของหมูวางอยู่ข้างกะโหลกศีรษะ นอกจากนี้พบชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์ วางร่วมกับศพจำนวน 1 ชิ้น คือ ส่วนกะโหลกศีรษะบนของโครงกระดูกเพศหญิง (MNI#003-01) กำหนดอายุสมัยปลายวัฒนธรรมบ้านเชียง

สภาพโดยรวมของกระดูกชำรุด นำมาศึกษาได้ร้อยละ 50 – 60 ไม่พบในส่วนกะโหลกศีรษะบน กระดูกขากรรไกรล่าง กระดูกไหปลาร้าขวา กระดุกปลายแขนด้านนอกซ้าย กระดูกข้อมือ กระดูกฝ่ามือ กับกระดูกนิ้วมือซ้ายและขวา กระดูกสันหลังช่วงคอทั้ง 7 ชิ้น กระดูกสันหลังช่วงเอวชิ้นที่ 1 กระดูกข้อเท้า ฝ่าเท้า กับนิ้วเท้าทั้งสองข้าง

ส่วนกระดูกที่พบ บางชิ้นชำรุด แตกหัก ทั้งลำตัวกระดูกสะบักซ้ายและขวา หัวกระดูกต้นแขนขวา ก้านและปลายกระดูกปลายแขนด้านนอกและด้านในขวากับซ้าย ส่วน manubrium ของกระดูกลิ้นปี่ ขอบลำตัวกระดูกเชิงกรานซ้ายและขวา ก้านบนของกระดูกน่องซ้าย และบางส่วนของกระดูกซี่โครงซ้ายกับขวา

ร่องรอยผิดปกติที่พบบนกระดูก

1. ด้านหลังของกระดูกปลายแขนด้านในซ้าย พบผิวกระดูกใหม่ทับเนื้อกระดูกเดิม ทำให้ผิวกระดูกขรุขระผิดปกติ น่าจะเกิดจากเยื่อหุ้มกระดูกอักเสบ

2. กระดูกต้นขาซ้ายและขวา ด้านนอกของกระดูกสะบ้าซ้ายและขวา และกระดูกหน้าแข้งกับกระดูกน่องซ้ายและขวา พบลักษณะผิวกระดูกคล้ายลายไม้ มีการงอกของกระดูกใหม่ทับแนวกระดูกเดิม เป็นลักษณะของเยื่อหุ้มกระดูกอักเสบ สาเหตุจากการติดเชื้อบาดแผลภายนอกผิวหนัง แล้วเชื้อแบคทีเรียเข้ามาทำลายหลอดเลือดทำให้ผิวกระดูกเดิมตาย บางส่วนอาจมีหลอดเลือดเข้าไปแทรกและสร้างกระดูกใหม่รอบผิวกระดูกเดิม

3. กระดูกน่องซ้าย บริเวณก้านกระดูกด้านใกล้กลาง บริเวณ soleal line พบรอยเกาะกล้ามเนื้อ soleus ชัดเจน เกิดได้จากแรงเครียดหรือแรงแค้นการกระทำของกล้ามเนื้อ ซึ่งถูกใช้งานอย่างหนักและสม่ำเสมอ

4. กระดูกเชิงกรานซ้ายและขวา บริเวณผิวด้านหลัง ขอบด้านนอกของ acetabulum กับส่วนเชื่อมระหว่าง pubic symphysis กับ acetabulum มีการงอกของกระดูกใหม่ทับผิวกระดูกเดิม สาเหตุจากการติดเชื้อส่งผลให้เยื่อหุ้มกระดูกเกิดการอักเสบ

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ