มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B6

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B6
หมายเลขหลุมฝังศพ
6
หมายเลขโครงกระดูก
6
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
Female
วัย/อายุ
Middle adult, 35-45 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกวางนอนหงายเหยียดยาวตามแนวแกนทิศตะวันออกเฉียงใต้-ตะวันตกเฉียงเหนือ พื้นที่ PSN 2 กริด S10-11E10-11 ระดับชั้นดินสมมติ 100-130 (121-137) cm.dt.

โครงกระดูกส่วนใหญ่มีสภาพชำรุด แตกหัก ผุกร่อนโดยเฉพาะกะโหลกศีรษะ กระดูกสันหลัง กับกระดูกซี่โครง ศพหันช่วงใบหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ชุดปลายแขนและกระดูกมือทั้งสองข้างวางรองใต้กระดูกเชิงกราน พบร่องรอยการมัดศพบริเวณหัวเข่าและปลายเท้า มีลักษณะการฝังศพแบบทุบภาชนะลายเขียนสีแดงบนพื้นนวลอย่างน้อยจำนวน 6 ใบ (กรมศิลปากร 2535) นำมาโปรยและรองใต้ศพ รวมถึงการอุทิศไว้บริเวณด้านทิศเหนือของกะโหลกศีรษะ พบร่วมกับเครื่องประดับห่วงคอสำริด 2 วงซ้อนกันบริเวณคอกำหนดอายุราวสมัยปลายของวัฒนธรรมบ้านเชียง

สภาพโครงกระดูกไม่สมบูรณ์ เพราะกระดูกส่วนใหญ่สภาพชำรุด กระดูกเปื่อย ร่อน และแตกหัก สามารถนำมาศึกษาได้ราวร้อยละ 15-20 โดยไม่พบในส่วนกระดูกลิ้นปี่ บางส่วนของกระดูกสันหลัง บางส่วนของกระดูกซี่โครงซ้ายและขวา และบางส่วนของกระดูกข้อมือ ฝ่ามือ นิ้วมือ ข้อเท้า ฝ่าเท้า และนิ้วเท้าด้านซ้ายและขวา

ส่วนกระดูกที่พบมีรายละเอียดและสภาพความชำรุดดังนี้คือ กะโหลกศีรษะบนชำรุดร้าว แตกออกเป็นแผ่น พบในส่วนกระดูกข้างขม่อมและกระดูกขากรรไกรบน กระดูกขากรรไกรล่างพบสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ กระดูกสะบักซ้ายและขวา สภาพชำรุดพบเฉพาะส่วนลำตัว กระดูกไหปลาร้าซ้ายและขวาสภาพชำรุดเช่นกัน พบเฉพาะส่วนกลางก้านกระดูก กระดูกต้นแขนซ้ายและขวา สภาพชำรุด ส่วนหัวและปลายกระดูกชำรุดแตกหัก กระดูกปลายแขนด้านนอกและในซ้ายและขวา สภาพค่อนข้างสมบูรณ์แต่หัวและปลายกระดูกชำรุดแตกหักเว้นแต่กระดูกปลายแขนด้านนอกขวา กระดูกเชิงกรานซ้ายและขวาชำรุดมาก แตกออกเป็นแผ่นๆ เช่นเดียวกับกระดูกกระเบนเหน็บที่ชำรุดแตกหักเช่นเดียวกัน กระดูกต้นขาซ้ายและขวา สภาพชำรุดส่วนหัวและปลายกระดูกแตกหัก กระดูกสะบ้าซ้ายและขวาสภาพสมบูรณ์ กระดูกหน้าแข้งและกระดูกน่องซ้ายและขวา สภาพค่อนข้างสมบูรณ์แต่บางส่วนบริเวณหัวและปลายกระดูกชำรุดแตกหัก ส่วนกระดูกซี่โครงและกระดูกสันหลัง สภาพชำรุดมาก กระดูกแตกหักและเปื่อยยุ่ย ไม่สามารถศึกษาได้แต่อย่างใด

ร่องรอยผิดปกติบนกระดูก

1. กระดูกไหปลาร้าซ้ายและขวา บริเวณด้านล่างของหัวกระดูกด้านที่เชื่อมต่อกับกระดูกลิ้นปี่ หรือบริเวณ costal impression ตรงส่วนเชื่อมต่อยึดกับเอ็น costoclavicular (ligament) และกระดูกอ่อนพบลักษณะของรอยยึดหรือรอยกดกระดูก (facet) อย่างชัดเจน น่าจะเป็นลักษณะการประกอบกิจกรรมที่ใช้บริเวณหัวไหล่ (เข้าสู่แกนกลาง) อย่างหนักและสม่ำเสมอก็อาจเป็นได้ นอกจากนี้ บริเวณ conoid tubercle ส่วนยึดของเอ็น conoid (ligament) เชื่อมระหว่างกระดูกไหปลาร้าและบริเวณ coracoid tuberosity ของกระดูกสะบัก พบลักษณะของรอยกดหรือรอยยึดกระดูกอย่างชัดเจนเช่นกัน น่าจะเป็นอาการสัมพันธ์ร่วมกับลักษณะที่พบบริเวณ costal impression เกิดจากการประกอบกิจกรรมที่เกี่ยวรั้งบริเวณหัวไหล่เป็นประจำ หรืออาจจะเกิดขึ้นเป็นอาการต่อเนื่องจากการได้รับบาดเจ็บบริเวณหน้าอกและหัวไหล่ก็เป็นได้เช่นกัน

2. กระดูกต้นขาซ้ายและขวา บริเวณส่วนด้านหลังกลางก้านกระดูก หรือแนวขอบของ linea aspera มีสันยื่นค่อนข้างชัดเจน คล้ายลักษณะผิดปกติเมื่อเทียบกับกระดูกต้นขาของโครงกระดูกอื่น ๆ น่าจะเกิดขึ้นจากแรงดึงหรือแรงแค้นจากการกระทำของกลุ่มกล้ามเนื้อ vastus (muscles) และกลุ่มกล้ามเนื้อ adductor (muscles) ช่วยสำหรับการเคลื่อนไหวของกระดูกต้นขาและเชิงกรานในการเคลื่อนหมุนเข้าสู่แกนกลาง) (White 1991)

3. กระดูกน่องขวา ด้านใกล้กลางปลายกระดูก บริเวณผิวที่เชื่อมยึดของเอ็นยึดกล้ามเนื้อ interosseous (ligament) พบร่องรอยผิดปกติของกระดูกเป็นลักษณะของผิวกระดูกใหม่สร้างทับผิวกระดูกเดิม น่าจะเกิดจากการติดเชื้ออาการบาดแผลภายนอก (บริเวณข้อเท้า?) แล้วเชื้อโรคลามเข้าสู่เลือด ส่งผลให้เยื่อหุ้มกระดูกติดเชื้อและอักเสบภายหลัง

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ