มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B9

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B9
หมายเลขหลุมฝังศพ
9
หมายเลขโครงกระดูก
9
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
Male
วัย/อายุ
Middle adult, 45-50 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกผู้ใหญ่ วางนอนหงายเหยียดยาวตามแนวแกนทิศตะวันออกเฉียงใต้-ตะวันตกเฉียงเหนือ พื้นที่ PSN2 กริด S12-13E9-10 ระดับชั้นดินสมมติ 110-210 (194-207) cm.dt.

โครงกระดูกสภาพชำรุด แตกหักเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะกะโหลกศีรษะ กระดูกสันหลัง และกระดูกซี่โครง ศพถูกมัดบริเวณหัวเข่า ฝังร่วมกับภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดงบนพื้นนวลอย่างน้อย 17 ใบวางทับซ้อนและเรียงอยู่กันอย่างต่อเนื่อง (กรมศิลปากร 2535) บริเวณปลายแขนขวาพบชิ้นส่วนด้ามเครื่องมือเหล็ก (เคียว) วางทับอยู่ สภาพของหลุมฝังศพน่าจะถูกรบกวนจากการกระทำของมนุษย์ สัตว์ หรือปัจจัยทางธรรมชาติอื่น ๆ เพราะได้พบหลักฐานเศษภาชนะดินเผาประเภทเครื่องเคลือบ วางอยู่ใต้ระดับของโครงกระดูกประมาณ 10 เซนติเมตร กำหนดอายุสมัยปลายวัฒนธรรมบ้านเชียง

สภาพกระดูกส่วนใหญ่ชำรุด แตกหัก สามารถนำมาศึกษาได้ราวร้อยละ 15-20 คือ การประเมินเพศ อายุเมื่อตาย ร่องรอยผิดปกติบนกระดูก และลักษณะที่วัดได้ในบางส่วนเท่านั้น กระดูกที่พบมีสภาพตามรายละเอียดคือกะโหลกศีรษะบนชำรุดมาก พบเพียงส่วนกระดูกข้างศีรษะซ้ายและขวา และกระดูกท้ายทอย ส่วนขากรรไกรล่างพบค่อนข้างสมบูรณ์ กระดูกไหปลาร้าซ้ายและขวา สภาพชำรุดหักหายในส่วนหัวและปลายกระดูก กระดูกสะบักซ้ายและขวา สภาพชำรุดพบเฉพาะส่วนลำตัว กระดูกต้นแขนซ้ายและขวา สภาพชำรุด หัวและปลายกระดูกแตกหัก กระดูกปลายแขนด้านนอกและในซ้ายและขวา สภาพชำรุดเช่นกันบางส่วนของกระดูกฝ่ามือและนิ้วมือซ้ายและขวา สภาพค่อนข้างสมบูรณ์บางส่วนของกระดูกซี่โครงซ้ายและขวากับกระดูกสันหลังที่พบ สภาพชำรุดเช่นเดียวกัน กระดูกเชิงกรานซ้ายและขวา สภาพชำรุดมาก พบเฉพาะเบ้ากระดูก (acetabulum) และบางส่วนของลำตัว กระดูกต้นขาซ้ายและขวา หัวและปลายกระดูกชำรุดแตกหัก กระดูกหน้าแข้งและกระดูกน่องซ้ายและขวา สภาพชำรุด ส่วนหัวและปลายแตกหัก ส่วนกระดูกข้อเท้าซ้ายและขวา กระดูกฝ่าเท้า และนิ้วเท้าซ้าย สภาพค่อนข้างสมบูรณ์

ร่องรอยผิดปกติบนกระดูก

1. กระดูกไหปลาร้าซ้ายและขวาบริเวณปลายกระดูกด้านบน พบลักษณะกระดูกงอกคล้ายร่องรอยการสมานแผลของเนื้อกระดูกภายหลังการบาดเจ็บ โดยข้างซ้ายมีกระดูกงอกขนาด 0.4x1 เซนติเมตร และข้างขวาพบกระดูกงอกขนาดกว้าง 0.4x1.1 เซนติเมตร ด้านล่าง (ใต้) ของกระดูกไหปลาร้าขวา (superior surface) บริเวณที่ยึดต่อของกล้ามเนื้อ (trapezius) (White 1991) พบลักษณะรูกระดูกขนาด 0.6x0.7 เซนติเมตร น่าจะเกิดจากการกระทำของสัตว์ภายหลังการเสียชีวิต

2. กระดูกปลายแขนด้านนอกซ้ายและขวา บริเวณก้านกระดูก พบรอยเครื่องมือ (สับตัด) บนผิวกระดูก เกิดขึ้นภายหลังการเสียชีวิตเช่นกัน

3. กระดูกเชิงกรานขวา ด้านหลังกระดูกเหนือบริเวณ acetabulum หรือส่วนเบ้ากระดูกเชื่อมต่อระหว่างกระดูกเชิงกรานและกระดูกต้นขา พบลักษณะรอยเจาะกระดูกรูปกลมขนาด 0.8x1.3 เซนติเมตร เกิดจากการกระทำของสัตว์ในช่วงกระบวนการย่อยสลายหลังการเสียชีวิต

4. กระดูกต้นขาขวาและซ้าย พบลักษณะกระดูกงอกค่อนข้างเด่นชัดในส่วนแกนกลางกระดูกด้านหลัง หรือ linea aspera น่าจะเกิดจากแรงยึดหรือแรงดึงของกล้ามเนื้อ vastus (muscles) และ adductor (muscles) ซึ่งใช้ในการเคลื่อนหมุนเข้าสู่แกนกลางของกระดูกต้นขาและเชิงกรานในการเคลื่อน) (White 1991) นอกจากนี้ทางด้านหน้าใกล้กับหัวกระดูกต้นขา บริเวณ intertrochanteric line ของกระดูกต้นขาขวา ปรากฏรอยยึดเกาะส่วนเอ็นยึด iliofemoral (ligament) เชื่อมต่อกับกระดูกสะโพกชัดเจนผิดปกติ เป็นผลจากการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมที่ต้องใช้การยืดหยุ่นส่วนเอ็นยึดกล้ามเนื้อดังกล่าวอย่างหนักและสม่ำเสมอ

5. กระดูกสะบ้าขวา ด้านหลัง ส่วนใกล้กลาง หรือ medial articular facet พบลักษณะกระดูกงอกทับผิวกระดูกเดิม เป็นลักษณะหนึ่งของโรคติดเชื้อจากภายนอก แล้วส่งผลให้เยื่อหุ้มกระดูกเกิดการอักเสบ

6. กระดูกหน้าแข้งซ้ายและขวา ส่วนปลายกระดูกด้านไกลกลางบริเวณ fibular notch ด้านที่เชื่อมต่อกับกระดูกน่อง (ทั้งทางด้านซ้ายและขวา) และกระดูกน่องซ้ายและขวาบริเวณปลายด้านที่เชื่อมต่อกับกระดูกหน้าแข้ง พบรอยผิวกระดูกใหม่ทับแนวผิวกระดูกเดิม น่าจะเป็นลักษณะอาการเยื่อหุ้มกระดูกอักเสบ เป็นการติดเชื้อจากบาดแผลภายนอก (สัมพันธ์ร่วมกับลักษณะส่วนกระดูกที่เชื่อมติดกันตรงข้อเท้าซ้าย) บริเวณข้อเท้า แล้วเชื้อโรคลามเข้าสู่ร่างกาย ส่งผลให้เกิดการอักเสบ

7. กระดูกข้อเท้าซ้าย (2nd และ 3rd cuneiform กับกระดูกฝ่าเท้าชิ้นที่ 1 (1st metatarsal)) มีลักษณะผิดปกติ เพราะกลุ่มกระดูกทั้ง 3 ชิ้นเชื่อมต่อเกือบเป็นชิ้นเดียวกัน น่าจะสัมพันธ์โดยตรงกับลักษณะผิดปกติ (เยื่อหุ้มกระดูกอักเสบ) ที่พบบริเวณข้อเท้าทั้งสองข้าง โดยเฉพาะด้านซ้ายที่ปรากฏอาการของเยื่อหุ้มกระดูกอักเสบในขั้นรุนแรงกว่า ลักษณะเช่นนี้ สันนิษฐานการเกิดของอาการได้เบื้องต้น 3 ประการ คือ (1) การเชื่อมต่อของกระดูกภายหลังอาการบาดเจ็บส่งผลให้กระดูกเกิดการชำรุดหรือแตกหัก แต่มีการสมานเนื้อกระดูกในภายหลัง หรือ (2) โรคข้อต่อกระดูกตาย (ankylosis) เกิดจากสาเหตุของการบาดเจ็บ (ชำรุด แตกหัก) หรือการติดเชื้อจากบาดแผล หรือจากการทำงาน ประกอบกิจกรรมใด ๆ ส่งผลให้เกิดการอักเสบส่วนข้อเท้า หรือตามที่เกาะยึดของเอ็นที่มักเป็นเรื้อรัง (osteoarthritis – โรคข้อกระดูกอักเสบเรื้อรัง) จนในที่สุดมีอาการข้อกระดูกติดตรึง

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ