มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B10

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B10
หมายเลขหลุมฝังศพ
10
หมายเลขโครงกระดูก
10
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
Male
วัย/อายุ
Young - Middle adult, 30-40 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกผู้ใหญ่ วางระเกะระกะ ตามแนวแกนทิศตะวันออกเฉียงใต้-ตะวันตกเฉียงเหนือ พื้นที่ PSN2 กริด S10E8-9 ระดับชั้นดินสมมติ 140-170 (147-165) cm.dt.

สภาพทั่วไปของโครงกระดูกชำรุดและเสื่อมสภาพ พบเฉพาะกะโหลกศีรษะบน กระดูกต้นแขน กระดูกปลายแขนซ้ายและขวา กระดูกกระเบนเหน็บ และกระดูกต้นขา พบร่วมกับเศษภาชนะ และภาชนะ (ชำรุด) ดินเผาลายเขียนสีแดงบนพื้นนวลประมาณ 4 ใบ กับกระดูกข้อเท้าวัวปะปนร่วมในระดับเดียวกับกระดูกมนุษย์ พบใบหอกเหล็ก วางอยู่ทางด้านขวาของกระดูกปลายแขนขวา ด้านทิศเหนือติดกับแนวผนังชั้นดิน กำหนดอายุราวสมัยปลายวัฒนธรรมบ้านเชียง

โครงกระดูกสภาพชำรุด พบเฉพาะบางส่วนของกระดูก ศึกษาได้ราวร้อยละ 10-15 เฉพาะการประเมินเพศ อายุเมื่อตาย และร่องรอยผิดปกติที่พบบนโครงกระดูกเท่านั้น โดยพบส่วนกระดูกตามสภาพและรายละเอียดเบื้องต้น คือ กะโหลกศีรษะบนสภาพชำรุด ส่วนกระดูกหน้าผาก ใบหน้า และขากรรไกรบนแตกหักหาย กระดูกต้นแขนซ้ายและขวา สภาพชำรุดพบเฉพาะส่วนก้านกระดูก กระดูกปลายแขนด้านนอกและด้านในซ้ายและขวา สภาพชำรุด ส่วนหัวและปลายกระดูกแตกหัก กระดูกกระเบนเหน็บสภาพชำรุดพบเฉพาะส่วน S1-S2 เท่านั้น กับกระดูกต้นขาซ้ายและขวา สภาพชำรุดเช่นเดียวกัน

ร่องรอยผิดปกติบนกระดูก

1. ก้านกระดูกต้นแขนซ้ายและขวา ก้านกระดูกปลายแขนด้านนอกและด้านในซ้าย และก้านกระดูกต้นขาซ้ายและขวา พบลักษณะการเสื่อมสภาพของกระดูกในช่วงการทับถมภายหลังการเสียชีวิต (taphonomy process) ทั้งจากปัจจัยสภาพภูมิอากาศ ปัจจัยธรรมชาติอย่างดิน กับการกระทำของสัตว์และมนุษย์ในภายหลัง ส่งผลให้ก้านกระดูกเสื่อมสภาพ เนื้อกระดูกหลุดร่อนและแตกหัก

2. ก้านกระดูกปลายแขนด้านนอกและด้านในขวา พบการยื่นของ interosseus crest บริเวณสันด้านใกล้กลางของกระดูกผิดปกติ ส่วนบริเวณ tuberosity ของกระดูกปลายแขนด้านนอกขวาพบบางส่วนของกระดูกที่หายไป ทำให้ปุ่มกระดูกที่เดิมมีลักษณะกลมกลายเป็นแอ่ง คล้ายคลึงกับลักษณะการเชื่อมต่อผิดปกติบริเวณข้อกระดูก (radio-ulnar synostosis) อันเป็นผลเกิดได้จาก 2 สาเหตุ คือ (1) ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ และ (2) การเปลี่ยนแปลงในระดับทุติยภูทิของการสมานเนื้อกระดูก ภายหลังการบาดเจ็บบริเวณข้อศอก (Anton and Polidoro 2000)

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ