มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B11

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B11
หมายเลขหลุมฝังศพ
11
หมายเลขโครงกระดูก
11
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
Male
วัย/อายุ
Young adult, 25-35 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกผู้ใหญ่ วางตัวตามแนวแกนทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ PSN2 กริด S10-12E7-9 ระดับชั้นดินสมมติ 110-140 (118-134) cm.dt.

สภาพโครงกระดูกชำรุดและแตกหัก พบแต่เพียงส่วนขากรรไกรล่างบางส่วนของขากรรไกรบน กระดูกต้นขาขวากับกระดูกหน้าแข้งซ้ายและขวา สำหรับรูปแบบการฝังศพ มีการวางภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดงบนพื้นนวลและลายขัดมันสีแดงอย่างน้อย 11 ใบวางอยู่โดยรอบโครงกระดูก (พบแต่เพียงส่วนรอบกะโหลกศีรษะและบริเวณปลายขา) พบร่วมกับเครื่องมือกระดูกปลายแหลมจำนวน 1 ชิ้นวางรองใต้โครงกระดูก กำหนดอายุได้ราวสมัยปลายวัฒนธรรมบ้านเชียง

สภาพชำรุด สามารถนำมาศึกษาได้ราวร้อยละ 10-15 เฉพาะการประเมินเพศ อายุเมื่อตาย และสภาพร่องรอยผิดปกติที่พบบนกระดูกเท่านั้น ทั้งหมดพบตามสภาพเบื้องต้น คือ กะโหลกศีรษะบน สภาพชำรุด พบเฉพาะส่วนขากรรไกรบนซ้าย ขากรรไกรล่างสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ ramus ขวาแตกหัก กระดูกปลายแขนด้านในขวาชำรุด พบเฉพาะส่วนก้านกระดูกบน กระดูกปลายแขนด้านในซ้ายชำรุดเช่นกัน พบเฉพาะส่วนปลายก้านกระดูก กระดูกต้นขาขวาชำรุด ส่วนหัวและปลายกระดูกแตกหัก กระดูกหน้าแข้งซ้ายและขวา และกระดูกน่องซ้าย ชำรุด พบเฉพาะส่วนกลางก้านกระดูกเท่านั้น กระดูกข้อเท้า calcaneus ขวา สภาพสมบูรณ์ และกระดูกฝ่าเท้าขวาชิ้นที่ 4 สภาพชำรุด

ร่องรอยผิดปกติบนกระดูก

1. บริเวณด้านหน้าของก้านกระดูกต้นขาขวา พบร่องรอยสับตัดบนกระดูก และร่องรอยการเสื่อมสภาพ หลุดร่อนของเนื้อกระดูก เกิดขึ้นจากปัจจัยต่าง ๆ ในกระบวนการทับถมและการย่อยสลายภายหลังการเสียชีวิต

2. ปลายกระดูกหน้าแข้งซ้าย บริเวณสันกระดูก ด้านใกล้กลางของ malleolus พบการงอกของกระดูกใหม่ทับผิวกระดูกเดิม น่าจะเป็นลักษณะการติดเชื้อจากบาดแผลภายนอก (ตรงบริเวณข้อเท้า) แล้วลามเข้าสู่ภายใน ส่งผลให้เยื่อกระดูกอักเสบ

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ