มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B20

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B20
หมายเลขหลุมฝังศพ
20
หมายเลขโครงกระดูก
20
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
Male
วัย/อายุ
Young adult, 30-35 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกผู้ใหญ่ ฝังนอนหงายเหยียดยาวตามแนวแกนทิศตะวันตกเฉียงใต้-ตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ PSN 3 กริด S12E2-3 ระดับชั้นดินสมมติ 200-220 (200-211) cm.dt.

โครงกระดูกถูกกวนค่อนข้างมาก กะโหลกศีรษะชำรุด เสียหาย พบกระดูกหน้าผากทางด้านซ้ายของขากรรไกรล่าง ฟันมีสีค่อนข้างดำ (จากความชื้นของน้ำที่ท่วมขังในหลุมขุดค้นช่วงฤดูฝน) ซี่โครงและสันหลังแตกหัก ไม่เรียงกันตามหลักทางะสรีระ หัวกระดูกต้นแขนขวาพลิกออกจากข้อต่อ ส่วนกระดูกปลายแขนขวาพลิกเข้าหาลำตัว กระดูกมือทั้ง 2 ข้างวางรวมกันอยู่ที่เชิงกราน คล้ายการมัดข้อมือ พบร่วมกับชิ้นส่วนเครื่องมือเหล็กที่บริเวณกระดูกต้นขาขวา ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะถูกรบกวนหรือเคลื่อนย้ายมามากกว่าที่จะเป็นวัตถุอุทิศดั้งเดิมของศพ เพราะจากสภาพที่พบเห็นได้ว่าโครงกระดูกถูกรบกวนอย่างมาก ทั้งการไม่วางตัวตามหลักทางสรีระ อีกทั้งชิ้นส่วนเครื่องมือเหล็กที่พบก็เป็นหลักฐานในระดับพื้นผิวด้านบน รวมถึงในพื้นที่ใกล้เคียงกันยังได้พบชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็กอันเป็นวัสดุสมัยใหม่ปะปนอยู่ด้วย นอกจากนี้ส่วนปลายโครงกระดูกยังพบก้อนศิลาแลง 1 ก้อนฝังวางร่วมกับศพ กำหนดอายุจากทิศทางการฝังศพได้ราวสมัยต้นของวัฒนธรรมบ้านเชียง

สภาพโครงกระดูกที่พบชำรุด กระดูกแตกหักและหาย ใช้ศึกษาได้ราวร้อยละ 30-35 โดยทั้งนี้ไม่พบในส่วนกระดูกลิ้นปี่ บางส่วนของกระดูกสันหลังช่วงลำตัว กระดูกปลายแขนด้านในขวา กระดูกข้อมือ ฝ่ามือ และนิ้วมือซ้าย บางส่วนของกระดูกข้อมือ ฝ่ามือ และนิ้วมือขวา รวมถึงชุดกระดูกปลายขาซ้ายและขวา ทั้งกระดูกสะบ้า กระดูกหน้าแข้ง กระดูกน่อง บางส่วนของกระดูกข้อเท้า ฝ่าเท้า และนิ้วเท้าขวา และทั้งหมดของกระดูกข้อเท้า ฝ่าเท้า และนิ้วเท้าซ้าย ด้านกระดูกที่พบมีสภาพเบื้องต้น คือ กะโหลกศีรษะบนชำรุด พบเฉพาะบางส่วนของกระดูกหน้าผาก และกระดูกข้างกะโหลกศีรษะซ้ายและขวา กระดูกขากรรไกรล่าง สภาพเกือบสมบูรณ์ ยกเว้นส่วน ramus ซ้ายแตกหัก กระดูกไหปลาร้าซ้ายและขวา สภาพชำรุด ปลายกระดูกด้านที่เชื่อมต่อกับกระดูกสะบักแตกหัก กระดูกสะบักขวาชำรุด พบเฉพาะส่วนลำตัว กระดูกต้นแขนขวา สภาพสมบูรณ์ กระดูกต้นแขนซ้ายชำรุดพบเฉพาะส่วนกลางก้านกระดูก กระดูกปลายแขนด้านในขวาสมบูรณ์ดี กระดูกปลายแขนด้านนอกขวาชำรุดพบเฉพาะส่วนหัวถึงกลางก้านกระดูก กระดูกปลายแขนด้านนอกซ้ายชำรุด พบเฉพาะส่วนกลางถึงปลายกระดูก กระดูกซี่โครงซ้ายและขวาชำรุด แตกหัก กระดูกสันหลังช่วงคอชิ้นที่ 1 และชิ้นที่ 3-7 สภาพชำรุด กระดูกสันหลังช่วงเอวพบเฉพาะชิ้นที่ 2-4 และชิ้นที่ 9-12 และกระดูกสันหลังช่วงเอวชิ้นที่ 2-4 สภาพสมบูรณ์ กระดูกกระเบนเหน็บ สภาพชำรุด เช่นเดียวกับกระดูกเชิงกรานซ้ายและขวาที่พบเฉพาะส่วนลำตัว (crest) กระดูกต้นขาขวาสภาพเกือบสมบูรณ์แต่หัวกระดูกแตกหัก กับกระดูกต้นขาซ้าย ชำรุด พบเฉพาะส่วนปลายก้านกระดูกเท่านั้น

ร่องรอยผิดปกติที่พบบนกระดูก

1. กระดูกต้นแขนซ้าย บริเวณกลางกระดูกด้านหน้าและด้านใกล้กลาง พบรอยแตกตามแนวดิ่ง เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิกระดูกอย่างฉับพลัน ในกระบวนการทับถมหลังการเสียชีวิต

2. กระดูกฝ่ามือขวาชิ้นที่ 2 และ 5 (นิ้วชี้และนิ้วกลาง) ผิวกระดูกด้านหลังส่วนเว้าโค้งเข้าใน ด้านใกล้กลาง (medial) และด้านไกลกลาง (lateral) เชื่อมยึดกับกล้ามเนื้อ interosseous (muscle; palmar interossei (interossei volares)) พบลักษณะการงอกของกระดูกตรงส่วนปลาย (proximal) ของกระดูกฝ่ามือชัดเจนผิดปกติ เป็นผลจากการใช้งานอย่างหนักและสม่ำเสมอของมือ (การเคลื่อนของกระดูกฝ่ามือออกจากกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3 (นิ้วกลาง)) หรือเกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อก็เป็นได้

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ