โครงกระดูกวางหงายเหยียดยาวตามแนวแกนทิศตะวันออกเฉียงใต้-ตะวันตกเฉียงเหนือ พื้นที่ PSN1 กริด S4-6E12-14 ระดับชั้นดินสมมติ 120-170 (152-160) cm.dt.
สภาพกระดูกชำรุด พบลักษณะผิดปกติบริเวณด้านหลังของกระดูกต้นขาซ้ายเพราะมีร่องรอยยื่นของกระดูกผิดรูปสรีระ ส่วนต้นขาขวาพบรอยสับตัดที่กระดูก มีรูปแบบการฝังศพด้วยการทุบภาชนะดินเผาเขียนสีแดงบนพื้นนวลอย่างน้อยจำนวน 15 ใบทุบให้แตกแล้วโปรยหรือวางเรียงคลุมศพ พบร่วมกับชิ้นส่วนเครื่องมือเหล็กวางอยู่ด้านขวาของกะโหลกศีรษะ กำหนดอายุราวสมัยปลายของวัฒนธรรมบ้านเชียง
สภาพโครงกระดูกชำรุดมาก
กระดูกแตกหักหาย ใช้ศึกษาได้ราวร้อยละ 20-25 กะโหลกศีรษะชำรุดมากพบเฉพาะส่วนหน้าผากและกระดูกขากรรไกรล่าง
ส่วนกระดูกอื่นๆ ที่พบ คือ
ส่วนปลายด้านที่เชื่อมต่อกับกระดูกลิ้นปี่ของกระดูกไหปลาร้าซ้าย
กระดูกปลายแขนด้านนอกและด้านในซ้าย
กระดูกต้นขาซ้ายและขวาซึ่งส่วนหัวกระดูกชำรุดแตกหัก
กระดูกหน้าแข้งซ้ายและขวาที่ตรงส่วนหัวและปลายกระดูกชำรุดแตกหักเช่นกัน
บางส่วนของกระดูกซี่โครงซ้าย บางส่วนของกระดูกข้อเท้า ฝ่าเท้า
และกระดูกนิ้วเท้าขวา และกระดูกข้อเท้า talus ซ้าย
ร่องรอยผิดปกติบนกระดูก
1. กระดูกหน้าแข้งขวา ด้านไกลกลางและด้านหลังของปลายกระดูก พบรอยสับตัด (รอยของมีคม) กระจายอยู่ เป็นลักษณะที่เกิดขึ้นกับกระดูกซึ่งอาจจะถูกรบกวนจากปัจจัยอื่นๆ (การขุดวางฝังหลุมฝังศพอื่นๆ) ภายหลังการเสียชีวิต
2. กระดูกต้นขาซ้าย ผิวหน้า ช่วงบนของกระดูกพบรอยสับตัดจากของมีคม ด้านหลังของก้านกระดูกต้นขาซ้ายและขวาตรงส่วนยึดต่อ ส่วนผ่าน หรือส่วนเชื่อมต่อกับกล้ามเนื้อมัดต่างๆ นั้น พบรอยเกาะกล้ามเนื้อชัดเจน เป็นแอ่งลึก และเป็นสันกระดูก อย่างน้อยใน 3 ตำแหน่ง คือ (1) intertrochanteric crest สัมพันธ์กับกล้ามเนื้อ quadratus femoris (muscle) ช่วยยึดรั้งและหมุนส่วนหัวกระดูกทั้งนอกและในเบ้ากระดูกเชิงกราน (2) บริเวณ spiral line สัมพันธ์กับกล้ามเนื้อ pectineus (muscle) กล้ามเนื้อแบนช่วยในการยืดหยุ่นของเชิงกราน และ (3) ด้านหลังกลางกระดูก หรือ linea aspera สัมพันธ์กับกล้ามเนื้อ vastus จากกลางกระดูกต้นขาถึงกระดูกสะบ้า และหัวกระดูกหน้าแข้ง ใช้สำหรับการเหยียดปลายขา โดยเฉพาะส่วนกระดูกหน้าแข้งขวา บริเวณดังกล่าวมีกระดูกงอกออกผิดปกติมีความหนาโดยเฉลี่ยประมาณ 2 เซนติเมตร เป็นลักษณะของปุ่มกระดูกงอก (exostoses) และภาวะการขยายตัวของเซลล์กระดูกมากผิดปกติ (proliferative lesion) (Buyers 2005) สาเหตุเกิดได้ทั้งจากความผิดปกติหรือการอักเสบของกล้ามเนื้อ แรงแค้นจากการกระทำเบื้องต้น ก่อนจะขยายตัวและอักเสบต่อเนื่องปรากฎเป็นลักษณะดังกล่าวบนกระดูก