มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B25

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B25
หมายเลขหลุมฝังศพ
25
หมายเลขโครงกระดูก
25
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
Male
วัย/อายุ
Middle adult, 35-40 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกวางหงายเหยียดยาว ตามแนวแกนทิศตะวันออกเฉียงใต้-ตะวันตกเฉียงเหนือ พื้นที่ PSN 1 กริด S4-5E13-15 ระดับชั้นดินสมมติ 140-160 (141-157) cm.dt.

สภาพโครงกระดูกที่พบไม่สมบูรณ์ ฝังศพโดยการทุบและวางภาชนะดินเผารองและโปรยทับลงบนศพ พบร่วมกับกะโหลกศีรษะหมูจำนวน 2 กะโหลกวางอยู่เหนือศีรษะ และเครื่องมือเหล็กรูปใบหอกจำนวน 1 ชิ้นวางรองอยู่ใต้ขากรรไกรล่าง ศพวางอยู่ร่วมกับหลุมฝังศพหมายเลข 023 และ 024 ที่วางเรียงต่อในระดับเดียวกันจากซ้ายถึงขวา ไล่เรียงตามลำดับ และวางทับแบบสวนแกนทิศกับกลุ่มวัตถุอุทิศของหลุมฝังศพหมายเลข 054 กำหนดอายุราวสมัยปลายวัฒนธรรมบ้านเชียง

สภาพโดยรวมไม่สมบูรณ์ สามารถนำมาศึกษาได้ราวร้อยละ 50 ขาดกระดูกในส่วนใบหน้า (facial) ของกะโหลกศีรษะ กระดูกลิ้นปี่ กระดูกสันหลังช่วงคอชิ้นที่ 4-7 กระดูกสันหลังช่วงลำตัวชิ้นที่ 1-12 กระดูกสันหลังช่วงสะโพกชิ้นที่ 1-3 กระดูกเชิงกรานขวา กระดูกปลายแขนด้านนอกและด้านในขวา กระดูกข้อมือ ฝ่ามือ และนิ้วมือขวากับบางส่วนทางด้านซ้าย และกระดูกซี่โครงบางส่วน ส่วนใหญ่ของกระดูกที่พบมีสภาพชำรุด แตกหัก และหาย ทั้งส่วนลำตัวกระดูกสะบักด้านซ้ายและขวา หัวกระดูกต้นแขนซ้ายและขวา ปลายกระดูกปลายแขนนอกด้านขวา หัวและปลายกระดูกต้นขาขวา และหัวกระดูกหน้าแข้งและกระดูกน่องขวา

ร่องรอยผิดปกติที่พบบนกระดูก

1. ปลายกระดูกไหปลาร้าขวา ด้านที่เชื่อมต่อกับกระดูกสะบัก (acromion end) มีขนาดใหญ่ (เมื่อเปรียบเทียบร่วมกับกระดูกไหปลาร้าซ้าย) และมีรูปทรงผิดปกติ เป็นร่องรอยการสมานกระดูกซึ่งอาจจะแตกหักหรือชำรุดร้าวอย่างใดอย่างหนึ่ง

2. กระดูกซี่โครงซ้ายชิ้นที่ 1 มีรูปทรงผิดปกติ เป็นรอยสมานเนื้อกระดูกเช่นเดียวกัน

3. บริเวณกลางก้านกระดูกต้นขาขวา พบรอยสับตัดบริเวณผิวกระดูก เป็นลักษณะเกิดขึ้นภายหลังการเสียชีวิตแล้ว จัดเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางประวัติบริบท (taphonomy) ที่ปรากฎบนกระดูก นอกจากนี้ ก้านกระดูกมีความโค้งมากกว่าปกติ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับกระดูกต้นขาซ้าย น่าจะเกิดขึ้นจากการประกอบกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นระยะเวลานานก็เป็นได้

4. กระดูกปลายขาทั้งด้านซ้ายและขวา บริเวณกระดูกหน้าแข้งทั้งสองข้าง ตรง malleolar fossa และตามแนวรอยเกาะกล้ามเนื้อของกระดูกหน้าแข้ง กับปลายก้านกระดูกน่อง พบกระดูกงอกเป็นสันนูนตามแนวกระดูก ลักษณะดังกล่าวอาจจะเป็นไปได้ใน 2 กรณีที่สัมพันธ์กันคือ (1) กรณีกล้ามเนื้ออักเสบ ส่งผลให้กระดูกงอก หรือ (2) การใช้งานกล้ามเนื้ออย่างหนักในกิจกรรมประจำวัน ในส่วนกล้ามเนื้อ soleus (soleus muscle) ที่เริ่มจากบริเวณด้านหลังปลายขาเชื่อมต่อถึงกระดูกข้อเท้า (calcaneus) ตรงบริเวณเอ็นร้อยหวายมีหน้าที่ใช้ในการเหยียดส้นเท้า หรือข้อเท้า (สนั่น สุขวัจน์ 2515) นอกจากนี้ ก้านกระดูกน่องด้านซ้ายยังมีรูปทรงโค้งผิดปกติ สาเหตุจากก้านกระดูกอาจจะเกิดการแตกหักและมีการซ่อมสมานในภายหลัง?

5. กระดูกสะบ้าขวาด้านในพบกระดูกงอก เกิดจากการเสื่อมสภาพของข้อเข่าในระยะแรกเริ่มถึงปานกลาง ส่วนบริเวณ medial articular facet พบการงอกของกระดูก อาจจะสัมพันธ์กับการเสื่อมสภาพของข้อเข่า หรือเกิดขึ้นจากการอักเสบของกล้ามเนื้อหรือเยื่อหุ้มกระดูก

6. ก้านกระดูกฝ่าเท้าซ้ายชิ้นที่ 4 และ 5 (นิ้วนางและนิ้วก้อย) มีลักษณะกระดูกงอกออกมาผิดปกติ ซึ่งเป็นไปได้ด้วย 2 สาเหตุ คือ (1) กระดูกงอกจากกล้ามเนื้ออักเสบ และ (2) กระดูกงอกจากเยื้อหุ้มกระดูกอักเสบ

7. กระดูกนิ้วเท้า (นิ้วกลาง) ซ้าย ข้อกลางและข้อปลาย (middle and distal phalanges) มีการเชื่อมต่อของกระดูกติดสนิทหรืออาการนิ้วล็อกเป็นผลจากการสมานกระดูกภายหลังการบาดเจ็บหรือการแตกหักของกระดูก

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ