มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : ฺBC-PSN_2003_B26

รหัสข้อมูล
ฺBC-PSN_2003_B26
หมายเลขหลุมฝังศพ
26
หมายเลขโครงกระดูก
26
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
Male
วัย/อายุ
Young - Middle adult, 30-40 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกวางหงายเหยียดยาวตามแนวแกนทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ PSN1 กริด S3-4E14-15 ระดับชั้นดินสมมติ 160-180 (174-180) cm.dt.

สภาพไม่สมบูรณ์ ชำรุดหักหายเป็นส่วนใหญ่ พบเพียงส่วนกะโหลกศีรษะบน กระดูกต้นแขนขวา กระดูกต้นขาขวาและชุดกระดูกปลายขาทั้งสองข้าง โครงกระดูกถูกรบกวนจากหลุมฝังศพผู้ใหญ่หมายเลข 050 ที่มีลำดับอายุการทับถมใหม่กว่า ศพถูกมัดบริเวณหัวเข่า ฝังศพด้วยการทุบเศษภาชนะลายเขียนสีแดงบนพื้นสีนวลและภาชนะขัดมันสีแดงให้แตกเพื่อรองใต้กับโปรยทับลงบนศพ พบร่วมกับชิ้นส่วนกำไลสำริด 2 วงบริเวณกลางลำตัว กำหนดอายุราวสมัยปลายวัฒนธรรมบ้านเชียง

โครงกระดูกไม่สมบูรณ์ ศึกษาได้ราวร้อยละ 25-30 ส่วนกะโหลกศีรษะบนพบเฉพาะกระดูกข้างศีรษะซ้ายและขวา กับกระดูกท้ายทอยที่มีสภาพชำรุด แตกหัก กระดูกต้นแขนขวาสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ส่วนลำตัวกระดูกเชิงกรานขวา กลางถึงปลายกระดูกต้นขาขวา กระดูกหน้าแข้งและกระดูกน่องซ้ายและขวา รวมถึงบางส่วนของกระดูกข้อเท้า ฝ่าเท้า และนิ้วเท้าซ้ายและขวา และบางส่วนของกระดูกนิ้วมือซ้าย

ร่องรอยผิดปกติบนกระดูก

1. กระดูกต้นขาขวา ด้านหลังปลายกระดูก บริเวณ adductor tubercle พบลักษณะกระดูกงอกผิดปกติ เกิดได้จากการกระทำหรือแรงแค้นของกล้ามเนื้อ adductor magnus (muscle) ในการเคลื่อนไหวเข้าส่วนกลางของกระดูกเชิงกราน กระดูกต้นขา และหัวเข่า

2. กระดูกหน้าแข้งซ้ายและขวา บริเวณแกนกลาง ด้านหลังกระดูก หรือ soleal (popiliteal line) พบผิวกระดูกมีรอยเกาะกล้ามเนื้อค่อนข้างชัดเพราะส่วนบริเวณที่เป็นส่วนรอยเกาะกล้ามเนื้อลึกลงเป็นแอ่ง ดันให้ผิวขอบกระดูกงอกขึ้นตลอดแนว เกิดได้จากสาเหตุการกระทำหรือแรงแค้นส่วนกล้ามเนื้อ popliteus (muscle) ช่วยการเคลื่อนไหวเข้าแกนกลาง โค้ง เกร็งของหัวเข่า

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ