มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B27

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B27
หมายเลขหลุมฝังศพ
27
หมายเลขโครงกระดูก
27
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
Female
วัย/อายุ
Middle adult, 45-50 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกวางหงายเหยียดยาวตามแนวแกนทิศตะวันออกเฉียงใต้-ตะวันตกเฉียงเหนือ พื้นที่ PSN1กริด S2E15-16 ระดับชั้นดินสมมติ 110-130 (119-130) cm.dt.

โครงกระดูกผู้ใหญ่ หันใบหน้าไปทางทิศเหนือ ศพถูกมัดบริเวณปลายเท้า สภาพไม่สมบูรณ์ ชำรุด หักหายโดยเฉพาะส่วนกระดูกกลางลำตัว ทั้งซี่โครง สันหลัง และเชิงกราน รูปแบบการฝังศพเป็นการวางภาชนะทรงปากผาย ก้นกลม ตกแต่งด้วยการเขียนลายสีแดงบนพื้นนวลประมาณ 7 ใบ วางทับบนตัวศพ ไม่พบร่วมกับวัตถุอุทิศชิ้นพิเศษแต่อย่างใด ยกเว้นก้อนขี้แร่ใต้กระดูกขากรรไกรล่าง กำหนดอายุราวสมัยปลายของวัฒนธรรมบ้านเชียง

สภาพไม่สมบูรณ์ ชำรุด และแตกหัก สามารถนำมาศึกษาได้ราวร้อยละ 15-20 พบตามสภาพเบื้องต้นดังนี้ คือ กะโหลกศีรษะบนชำรุด พบเฉพาะกระดูกหน้าผากซ้าย กระดูกข้างศีรษะซ้ายและขวา กระดูกขากรรไกรล่าง สภาพชำรุดเช่นกัน พบเฉพาะขากรรไกรล่างขวา กระดูกไหปลาร้าซ้ายและขวาชำรุด หัวและปลายกระดูกแตกหัก กระดูกสะบักขวาชำรุดพบเฉพาะส่วนลำตัว กระดูกต้นแขนซ้ายและขวาชำรุด พบเฉพาะก้านกระดูก กระดูกปลายแขนด้านในซ้ายและกระดูกปลายแขนด้านในขวา สภาพชำรุดพบเฉพาะส่วนก้านกระดูกเช่นกัน บางส่วนของกระดูกฝ่ามือขวา สภาพสมบูรณ์ กระดูกเชิงกรานขวาชำรุด พบเพียงชิ้นส่วนลำตัว (ilium) กระดูกต้นขาซ้ายชำรุด พบเฉพาะส่วนปลายก้านกระดูก กระดูกต้นขาขวาชำรุด คงเหลือเพียงส่วนปลายถึงกลางก้านกระดูก กระดูกหน้าแข้งและกระดูกน่องซ้ายและขวาชำรุด พบเฉพาะส่วนก้านกระดูกเท่านั้น กับบางส่วนของกระดูกข้อเท้า ฝ่าเท้า และนิ้วเท้าซ้ายและขวา สภาพค่อนข้างสมบูรณ์

ร่องรอยผิดปกติที่พบบนกระดูก

1. กระดูกปลายแขนด้านนอกขวา บริเวณ interosseus crest เชื่อมต่อกับแกนกระดูกปลายแขนด้านใน พบการยื่นของกระดูกมากผิดปกติ สาเหตุที่ส่วนเนื้อเยื่อกั้นกลางระหว่างกระดูก (interosseus membrane) เกิดการอักเสบหรือถูกใช้งานอย่างหนักเป็นประจำ ส่งผลให้กระดูกดังกล่าวมีขนาดหนา โค้ง และขรุขระมากกว่าปกติ

2. ลำตัวของกระดูกเชิงกรานขวา บริเวณด้านในเบ้ากระดูก (acetabulum) ใต้ lunate surface พบรูบนกระดูก รูปกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.4 เซนติเมตร น่าจะเกิดจากการกระทำหรือการรบกวนจากสัตว์ ในช่วงกระบวนการทับถมหรือการย่อยสลายของโครงกระดูก

3. กระดูกหน้าแข้งขวา บริเวณปลายกระดูกด้านหลัง พบรูบนกระดูกทรงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.9 เซนติเมตร เจาะลึกลงบนกระดูก น่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำของสัตว์ ระหว่างการทับถมหรือการย่อยสลายของโครงกระดูก

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ