มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B32

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B32
หมายเลขหลุมฝังศพ
32
หมายเลขโครงกระดูก
32
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
?
วัย/อายุ
Child, 11-13 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกเด็ก นอนหงายเหยียดยาวตามแนวแกนทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ PSN 2 กริด S10-11E11-12 ระดับชั้นดินสมมติ 90-160 (136-152) cm.dt.

สภาพโครงกระดูกไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะกะโหลกศีรษะ ฝังศพด้วยการนำภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดงบนพื้นนวล ก้นกลม อย่างน้อยจำนวน 8 ใบ ทุบให้แตกแล้ววางโปรยทับลงบนตัวศพ ศพถูกมัดบริเวณหัวเข่าและข้อเท้า ด้านซ้ายตอนบนของศพน่าจะถูกกวนจากการขุดตัดของหลุมฝังศพอื่น เพราะไม่พบทั้งกระดูกซี่โครงและกระดูกปลายแขนด้านนอกและด้านในซ้าย อีกทั้งได้พบกระดูกต้นแขนซ้ายอยู่ทางด้านขวาเหนือกะโหลกศีรษะบนปลายแขนขวาของศพสวมกำไลเหล็ก 1 วง บริเวณกลางลำตัวมีร่องรอยการโปรยดินเทศสีแดงลงบนตัวศพ ปลายศพด้านทิศใต้ พบกระดูกข้อเท้าหมูจำนวน 2 ขา ส่วนบริเวณเหนือศีรษะพบลูกกลิ้งดินเผาจำนวน 1 ชิ้นและกะโหลกศีรษะหมูและขากรรไกรล่าง 1 กะโหลก วางร่วมในระนาบเดียวกับศพ กำหนดอายุราวสมัยปลายวัฒนธรรมบ้านเชียง

สภาพโครงกระดูกชำรุดมาก กระดูกแตกหักหาย ผุ และเปื่อยยุ่ยเป็นส่วนใหญ่ สามารถใช้ประเมินศึกษาได้ร้อยละ 35-40 ทั้งนี้ไม่พบในส่วนกระดูกสะบักซ้าย กระดูกซี่โครงซ้าย กระดูกปลายแขนด้านนอกซ้าย กระดูกเชิงกราน (ilium) ขวา บางส่วนของกระดูกข้อมือ ฝ่ามือ กับนิ้วมือซ้ายและขวา กระดูกข้อเท้า ฝ่าเท้า กับกระดูกนิ้วเท้าซ้ายและขวา บางส่วนกระดูกซี่โครงขวาและกระดูกสันหลัง กระดูกที่พบ สภาพค่อนข้างชำรุด หลายส่วนแตกหักหาย ในส่วนกะโหลกศีรษะชำรุดมาก กระดูกแตกหัก ผุ ไม่เป็นรูปทรงแต่อย่างใด สภาพขากรรไกรล่างค่อนข้างดีแต่กระดูกฟันส่วนใหญ่ชำรุดหลุดออกมาจากเบ้าฟัน ส่วนกระดูกอื่นที่ชำรุด ได้แก่ ลำตัวกระดูกสะบักขวา ปลายกระดูกไหปลาร้าซ้ายและขวาด้านที่เชื่อมต่อกับกระดูกสะบัก หัวกระดูกต้นแขนซ้าย ปลายก้านกระดูกปลายแขนด้านในซ้าย ลำตัวกระดูกเชิงกราน (ilium) ซ้าย หัวกระดูกต้นขาขวา หัวและปลายก้านกระดูกหน้าแข้งซ้ายและขวา ปลายกระดูกน่องซ้ายและขวา ช่วงกลางของกระดูกกระเบนเหน็บ รวมถึงกระดูกซี่โครงขวากับกระดูกสันหลังบางส่วน

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ