มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B33

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B33
หมายเลขหลุมฝังศพ
33
หมายเลขโครงกระดูก
33
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
Female
วัย/อายุ
Middle adult, 45-50 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกฝังตามแนวแกนทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ PSN 2 กริด S14-15E12-14 ระดับชั้นดินสมมติ 110-150 (138-143) cm.dt.

สภาพโครงกระดูกค่อนข้างสมบูรณ์ พบร่องรอยผิดปกติ ทั้งการเจาะกะโหลกบริเวณส่วนเหนือท้ายทอย และลักษณะการเสื่อมสภาพ ของกระดูกสันหลังช่วงเอว บางส่วนของโครงกระดูกถูกรบกวนจากหลุมฝังศพหมายเลข 001 ที่มีลำดับอายุการทับถมใหม่กว่า มีรูปแบบการฝังศพโดยทุบภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดงบนพื้นนวลอย่างน้อยจำนวน6 ใบมาทุบเพื่อวางรองและโปรยลงบนตัวศพ ศพถูกมัดบริเวณหัวเข่า พบร่วมกับลูกกลิ้งดินเผาจำนวน 1 ชิ้น กะโหลกศีรษะและขากรรไกรล่างของหมู 1 กะโหลก และกระดูกขาหมู 1 ข้างวางร่วมอยู่บริเวณเหนือศีรษะ กับส่วนกะโหลกศีรษะกับกระดูกขากรรไกรล่าง และกระดูกขาหมูอีก 1 ชุดวางรองใต้กระดูกเชิงกรานและกระดูกต้นขาซ้าย บริเวณคอสวมเครื่องประดับห่วงคอสำริด 2 วง กำหนดอายุราวสมัยปลายวัฒนธรรมบ้านเชียง

สภาพโดยรวมค่อนข้างสมบูรณ์ สามารถนำมาศึกษาได้ร้อยละ 70-75 ขาดเฉพาะบางส่วนของกระดูกข้อมือ นิ้วมือ กับกระดูกข้อเท้า นิ้วเท้าทั้งสองข้าง และกระดูกซี่โครง ส่วนกระดูกที่พบมีคุณภาพค่อนข้างดี แต่พบการชำรุดแตกหักบางส่วน คือ กระดูกสันหลังส่วนลำคอชิ้นที่ 2 ก้านกระดูกไหปลาร้าและส่วนลำตัวของกระดูกสะบักทั้งสองข้าง หัวกระดูกต้นขาขวา ส่วนปลายกระดูกปลายแขนด้านนอกซ้าย ส่วนบนของกระดูกหน้าแข้งทั้งสองข้าง ส่วนปลายของกระดูกน่องซ้าย และส่วน ischium และ pubis ของกระดูกเชิงกรานซ้ายและขวา

ร่องรอยผิดปกติที่พบบนกระดูก

1. ก้านกระดูกด้านที่ต่อกับ distal articular surface ของกระดูกน่องทั้งสองข้าง กับผิวกระดูกด้านหลังของกระดูกข้อเท้า (calcaneus) ทั้งสองข้างด้านที่ต่อเข้ากับปลายก้านกระดูกน่องพบการงอกของกระดูกทับผิวกระดูกเดิม สาเหตุจากเยื่อหุ้มกระดูกเกิดการอักเสบ เป็นอาการติดเชื้อจากบาดแผลบริเวณส่วนข้อเท้าด้านหลัง

2. ส่วนปลายหัวกระดูกฝ่ามือซ้าย ชิ้นที่ 2-3 (นิ้วชี้และนิ้วกลาง) พบรอยกดกระดูกงอก เกิดจากแรงแค้น (stress) ของกล้ามเนื้อ แสดงถึงการกระทำ (กดนิ้ว) หรือการใช้งานบริเวณดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะเวลานาน

3. ปลายหัวกระดูกฝ่าเท้าซ้ายชิ้นที่ 5 (นิ้วนาง) พบลักษณะผิดปกติ คือ ส่วนเนื้อกระดูกบางส่วนถูกตัดหายไปไม่เป็นรูปทรงตามปกติ น่าจะเกิดจากการสมานเนื้อกระดูกที่ได้รับบาดแผลหรือการบาดเจ็บ หรือเป็นลักษณะของรอยสับตัดซึ่งเกิดขึ้นภายหลังการเสียชีวิตก็เป็นได้

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ