มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B34

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B34
หมายเลขหลุมฝังศพ
34
หมายเลขโครงกระดูก
34
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
Male
วัย/อายุ
Young adult, 30-35 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกฝังหงายเหยียดยาวตามแนวแกนทิศตะวันออกเฉียงใต้-ตะวันตกเฉียงเหนือ พื้นที่ PSN1 กริด S1-2E12-13 ระดับชั้นดินสมมติ 120-170 (148-161) cm.dt.

โครงกระดูกพบในสภาพที่ไม่ค่อยสมบูรณ์ ส่วนล่างของร่างกายตั้งแต่กระดูกปลายขาลงมาไม่พบแต่อย่างใด มีรูปแบบการฝังศพด้วยการนำภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดงบนพื้นนวลมาทุบและวางโปรยทับบนตัวและบริเวณโดยรอบตัวศพอย่างน้อยจำนวน 10 ใบ กรมศิลปากร (2535) ได้พบหลักฐานเปลือกข้าวภายในภาชนะดินเผาพบร่วมกับศพซึ่งได้ถูกเก็บนำหลักฐานขึ้นตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2535 ภายในส่วนปากของศพพบชิ้นส่วนเครื่องมือเหล็กจำนวน 1 ชิ้น และบริเวณกลางลำตัวในระดับใต้โครงกระดูกพบเศษลูกปัดแก้วสีเขียว สภาพชำรุด เปื่อยยุ่ย กำหนดอายุหลุมฝังศพได้ราวสมัยปลายของวัฒนธรรมบ้านเชียง

สภาพโดยรวมของโครงกระดูก พบค่อนข้างขำรุด แตกหักหายไปบางส่วน สามารถนำมาประเมินศึกษาได้ราวร้อยละ 45-50 โดยไม่พบในส่วนของกระดูกหน้าแข้งและกระดูกน่องซ้ายและขวา กระดูกสะบ้าซ้าย กระดูกข้อเท้า ฝ่าเท้า และนิ้วเท้าซ้ายและขวา บางส่วนของกระดูกข้อมือ ฝ่ามือ และนิ้วมือทั้งสองข้าง รวมถึงบางส่วนของกระดูกซี่โครงซ้ายและขวา ส่วนกระดูกที่พบนั้น บางส่วนมีลักษณะชำรุด แตกหัก ไม่สามารถนำมาศึกษาได้ทั้งหมด คือ กะโหลกศีรษะบนนั้นส่วนหน้าผากหักหายไป คงเหลือเพียงขากรรไกรบน กระดูกด้านข้างศีรษะและกระดูกท้ายทอย กระดูกสะบักซ้ายและขวาพบว่าส่วนลำตัวกระดูกแตกหักหาย รวมถึงหัวกระดูกต้นแขนซ้ายและขวา ลำตัวของกระดูกลิ้นปี่ ปลายกระดูกปลายแขนด้านนอกซ้ายและขวา ปลายกระดูกปลายแขนด้านในซ้าย กลางถึงปลายของกระดูกต้นขาขวา บางส่วนของลำตัวกระดูกเชิงกรานและกระดูกหัวเหน่าซ้ายและขวา อีกทั้งบางส่วนของกระดูกซี่โครงที่พบก็มีลักษณะชำรุดเช่นเดียวกับกระดูกสันหลัง โดยเฉพาะส่วนลำตัวถึงเอวมีลักษณะกระดุกผุ เปื่อยยุ่ยเช่นกัน

ร่องรอยผิดปกติที่พบบนกระดูก

1. กระดูกไหปลาร้าซ้ายและขวา บริเวณ costal impression และ subclavian sulcus พบแนวกระดูกงอกเป็นสันแหลม น่าจะเป็นผลจากแรงแค้นการกระทำของกล้ามเนื้อ subclavius (muscle) ทำหน้าที่สำหรับพยุงและช่วยการเคลื่อนไหวของส่วนหัวไหล่

2. กระดูกต้นแขนซ้าย บริเวณปุ่ม deltoid พบรอยเกาะกล้ามเนื้อ deltoid ค่อนข้างลึกและชัด ซึ่งกล้ามเนื้อดังกล่าวทำหน้าที่ในการยกและกางแขนขึ้นเป็นมุมฉาก (สนั่น สุขวัจน์ 2515)

3. กระดูกต้นขาซ้าย บริเวณ intertrochanteric line นูนค่อนข้างเด่นชัด ขณะที่บริเวณกลางก้านกระดูกด้านหน้าพบรอยสับตัด ที่เกิดขึ้นจากการรบกวนโครงกระดูกภายหลังการเสียชีวิต เช่นเดียวกับที่พบร่องรอยการเจาะ (เขี้ยวสัตว์) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.8 เซนติเมตร บริเวณ articular facet ขวาของกระดูกสันหลังช่วงคอชิ้นที่ 1 (atlas)

4. ส่วนกระดูกกระเบนเหน็บชิ้นที่ 1 (S1) และ กระดูกสันหลังช่วงเอวชิ้นที่ 5 (L5) พบลักษณะกระดูกงอก (osteoarthritis) เป็นปุ่มกระดูกเชื่อมต่อกันขนาดความกว้าง 2.1 เซนติเมตร ยาว 2.2 เซนติเมตร บริเวณขอบด้านหน้าขวาของลำตัวกระดูกสันหลัง

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ