โครงกระดูกทารก นอนหงายเหยียดยาวตามแนวแกนทิศตะวันออกเฉียงใต้-ตะวันตกเฉียงเหนือ พื้นที่ PSN 2 กริด S14E14 ระดับชั้นดินสมมติ 100-130 (123-130) cm.dt.
โครงกระดูกสภาพชำรุด โดยเฉพาะกะโหลกศีรษะบน มีรูปแบบการฝังศพด้วยการนำภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดงบนพื้นนวลและลายขัดมันสีแดงอย่างน้อย 6 ใบนำมาทุบและวางเรียงโปรยลงบนตัวศพ พบร่วมกับลูกปัดทึบแสงสีส้มจำนวน 213 ลูกวางอยู่บริเวณกลางลำตัว กะโหลกศีรษะบนและขากรรไกรล่างหมู 1 หัววางอยู่ทางด้านขวาของศพ กับชุดกะโหลกศีรษะหมูอีก 1 หัวบริเวณปลายเท้า นอกจากนี้ยังพบลูกกระสุนดินเผา 1 ลูกและชิ้นส่วนกำไลสำริดวางปะปนร่วมกับโครงกระดูก กำหนดอายุราวสมัยปลายวัฒนธรรมบ้านเชียง
สภาพโครงกระดูกไม่สมบูรณ์
ชำรุด ไม่เป็นรูปทรงอย่างใด สามารถนำมาศึกษาได้ร้อยละ 25-30 โดยพบตามสภาพดังนี้ คือ กะโหลกศีรษะบนพบในส่วนกระดูกหน้าผากซ้ายและขวา
กระดูกกกหูซ้าย และกระดูกท้ายทอยในส่วนของ pars basilaris และ
pars lateralis กระดูกขากรรไกรล่างซ้ายและขวา
ก้านกระดูกไหปลาร้าซ้ายและขวาสภาพชำรุด ลำตัวของก้านกระดูกสะบักซ้ายและขวา
ก้านกระดูกต้นแขนซ้าย ส่วนกลางถึงปลายก้านกระดูกต้นแขนขวา
ก้านกระดูกปลายแขนด้านนอกและด้านในขวาที่มีสภาพชำรุด ก้านกระดูกปลายแขนด้านนอกและด้านในซ้าย
บางส่วนของกระดูกสันหลังและกระดูกซี่โครงทั้งสองข้างที่มีสภาพชำรุดแตกหัก
ลำตัวของกระดูกเชิงกราน ilium ซ้ายและขวา กระดูก ischium
ขวา ก้านกระดูกต้นขาซ้ายและขวา ก้านกระดูกน่องด้านซ้ายและขวา
สภาพชำรุดหักหายในส่วนหัวและปลายก้านกระดูก และกระดูกข้อเท้า calcaneus กับ talus ขวา สภาพค่อนข้างสมบูรณ์
ร่องรอยผิดปกติที่พบบนกระดูก
1. ก้านกระดูกต้นแขนซ้ายและขวา ด้านไกลกลาง บริเวณ deltoid tuberosity พบลักษณะการสร้างผิวกระดูกใหม่ทับผิวกระดูกเดิมที่เกิดจากส่วนเยื่อหุ้มกระดูกอักเสบ ในระดับปานกลาง เป็นลักษณะที่เกิดจากโรคติดเชื้อ หรือเชื้อโรคแผ่เข้ามาสู่ในกระแสเลือด และมีผลต่อการสร้างและทำลายกระดูก ลักษณะดังกล่าวถูกพบในอีกหลายส่วน ทั้งก้านกระดูกปลายแขนขวา บริเวณด้านหน้า-ใกล้กลาง ก้านกระดูกต้นขาซ้ายและขวา บริเวณส่วนไกลกลาง ไล่ลงมาตั้งแต่บริเวณ lesser trochanteric surface ถึง linea aspera เและก้านกระดูกหน้าแข้งซ้าย บริเวณด้านหลัง-ไกลกลางของกระดูก