มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B42

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B42
หมายเลขหลุมฝังศพ
42
หมายเลขโครงกระดูก
42
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
?
วัย/อายุ
Infant, 1-3 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกทารก ฝังท่านอนหงายเหยียดยาวตามแนวแกนทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ PSN 2กริด S10E12-13 ระดับชั้นดินสมมติ 110-170 (140-150) cm.dt.

โครงกระดูกไม่สมบูรณ์ ชำรุด แตกหัก ฝังศพโดยการนำภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดงบนพื้นนวลอย่างน้อยจำนวน 5 ใบวางโปรยทับลงบนตัวศพ ร่วมกับชิ้นส่วนกระดูกขาหมู (กระดูกฝ่าเท้าและกระดูกนิ้วเท้า) 2 ขาบริเวณปลายเท้า กำหนดอายุราวสมัยปลายของวัฒนธรรมบ้านเชียง

โครงกระดูกสภาพชำรุดมาก แตกหัก เปื่อยยุ่ย ส่วนกะโหลกศีรษะบนยุบ แตกหัก และติดอยู่ในผนังชั้นดินด้านทิศตะวันออก ทั้งหมดสามารถนำมาศึกษาได้ราวร้อยละ 15-20 โดยพบส่วนกะโหลกศีรษะบนบางส่วน ขากรรไกรล่างค่อนข้างสมบูรณ์ ก้านกระดูกไหปลาร้าซ้ายและขวาสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ก้านกระดูกต้นแขนขวา สภาพเกือบสมบูรณ์ ก้านกระดูกปลายแขนด้านในขวา สภาพสมบูรณ์ ส่วนหัวถึงกลางก้านกระดูกปลายแขนด้านในซ้าย และกลางถึงปลายก้านกระดูกด้านนอกซ้าย ส่วนลำตัวของกระดูกเชิงกราน ilium ซ้ายและขวาสภาพชำรุดแตกหัก กระดูก pubis และ ischium ขวา สภาพเกือบสมบูรณ์ ก้านกระดูกต้นขาซ้ายสภาพชำรุดแตกหักบริเวณส่วนปลายกระดูก ส่วนกระดูกสันหลังทั้งช่วงคอ และหลัง สภาพชำรุดแตกหักมากเช่นเดียวกับบางส่วนของกระดูกซี่โครงซ้ายและขวาที่พบจากการขุดค้น

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ