โครงกระดูกน่าถูกวางเรียงตามแนวแกนทิศตะวันตก-ตะวันออก พื้นที่ PSN1 กริด S1E13-14ระดับชั้นดินสมมติ 160-190 (172-185) cm.dt.
สภาพโครงกระดูกไม่สมบูรณ์ ชำรุด ถูกรบกวนจากหลุมฝังศพอื่นในพื้นที่ใกล้เคียง พบเพียงส่วนบนของร่างกายตั้งแต่กะโหลกศีรษะถึงส่วนกระดูกเชิงกราน โครงกระดูกหันหน้าไปทิศตะวันออก พบร่วมกับชิ้นส่วนกำไลหินกลางลำตัวศพ มีรูปแบบการฝังศพโดยการนำภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดงบนพื้นนวลอย่างน้อย 5 ใบมาทุบและวางทับลงบนตัวศพ กำหนดอายุราวสมัยปลายวัฒนธรรมบ้านเชียง
สภาพโครงกระดูกชำรุด แตก หักจากการกวนของหลุมฝังศพอื่น สามารถศึกษาได้ร้อยละ 10-15 กะโหลกศีรษะบนชำรุด แตกหัก พบเฉพาะส่วนใบหน้า หน้าผาก และข้างซ้ายของกะโหลก กระดูกขากรรไกรบนและล่าง กระดูกไหปลาร้าซ้ายและขวา กระดูกสะบักซ้ายและขวา ส่วนลำตัวชำรุดแตกหัก กระดูกลิ้นปี่ยกเว้นส่วนลำตัว กระดูกต้นแขนซ้าย ปลายบนถึงกลางก้านกระดูกปลายแขนด้านนอกและด้านในซ้าย กระดูกสันหลังช่วงลำคอชิ้นที่ 1 และชิ้นที่ 3-7 กระดูกสันหลังช่วงลำตัวชิ้นที่ 2-12 และกระดูกสันหลังช่วงเอวชิ้นที่ 1 กระดูกเชิงกราน (ischium) ซ้าย และบางส่วนของกระดูกซี่โครงซ้ายและขวาชำรุด แตกหัก
ร่องรอยผิดปกติที่พบบนกระดูก
1. กระดูกไหปลาร้าซ้ายและขวา บริเวณด้านล่างกลางก้านกระดูก หรือแอ่ง subclavian sulcus (groove) พบรอยเกาะกล้ามเนื้อ subclavius (muscle) กล้ามเนื้อรูปสามเหลี่ยมที่ช่วยสำหรับกดรั้งหัวไหล่เคลื่อนลงและเคลื่อนที่ไปข้างหน้า เด่นชัด