โครงกระดูกฝังนอนหงายเหยียดยาวตามแนวแกนทิศตะวันออกเฉียงใต้-ตะวันตกเฉียงเหนือ พื้นที่ PSN1 กริด S2-3E6 ระดับชั้นดินสมมติ 120-180 (174-179) cm.dt.
สภาพโครงกระดูกไม่สมบูรณ์ พบเฉพาะส่วนล่างของลำตัวทั้งกระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้ง กระดูกน่อง และกระดูกข้อเท้า ฝ่าเท้า และนิ้วเท้าทั้งสองข้าง ส่วนช่วงบนขึ้นไปติดอยู่ในแนวผนังชั้นดินด้านทิศเหนือ พบการมัดศพบริเวณข้อเท้า มีรูปแบบการฝังศพด้วยการนำภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดงบนพื้นนวลอย่างน้อยจำนวน 18 ใบวางทับอยู่บนตัวศพ (กรมศิลปากร 2535) กำหนดอายุราวสมัยปลายวัฒนธรรมบ้านเชียง
สภาพโครงกระดูกส่วนใหญ่ชำรุด
แตกหักหาย สามารถศึกษาได้ร้อยละ 20-25 โดยพบเฉพาะลำตัวกระดูกสันหลังช่วงเอวชิ้นที่
1-5 ลำตัวกระดูกเชิงกรานขวา
ก้านกระดูกปลายแขนด้านนอกและด้านในซ้าย ปลายกระดูกต้นขาซ้าย กระดูกสะบ้าซ้าย
กระดูกหน้าแข้งและน่องซ้ายและขวาที่บริเวณหัวกระดูกชำรุดแตกหัก รวมถึงบางส่วนของกระดูกข้อเท้า
ฝ่าเท้า และนิ้วเท้าซ้ายและขวา พบสภาพค่อนข้างสมบูรณ์
ร่องรอยผิดปกติที่พบบนกระดูก
1. ด้านหลังกระดูกเชิงกรานขวา บริเวณ iliac fossa พบรูกระดูก ขนาด 1.3x0.4 เซนติเมตร เป็นลักษณะรอยเจาะของเครื่องมือหรือสัตว์? เกิดขึ้นภายหลังการเสียชีวิต
2. กระดูกปลายแขนด้านนอกและด้านในซ้าย บริเวณแกนกระดูกสันแบ่งระหว่าง (ด้านหน้าและด้านหลัง) หรือ interosseus crest มีการยื่น (และโค้ง) มากกว่าปกติ อาจเกิดจากส่วนเนื้อเยื่อกั้นกลางระหว่างกระดูก (interosseus membrane) เกิดอักเสบ หรืมีการใช้งานส่วนข้อมืออย่างหนักและสม่ำเสมอ ส่งผลให้กระดูกบริเวณดังกล่าวถูกสร้างขึ้นโดยมีขนาดหนาและโค้งกว่าลักษณะทั่วไป