มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B47

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B47
หมายเลขหลุมฝังศพ
47
หมายเลขโครงกระดูก
47
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
?
วัย/อายุ
Young adult, >23 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูก สภาพชำรุด นอนหงายเหยียดยาวตามแนวแกนทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ PSN 3 กริด S10E3-4 ระดับชั้นดินสมมติ 100-130 (105) cm.dt.

โครงกระดูกมีสภาพชำรุด แตกหัก พบเฉพาะส่วนกระดูกปลายแขนด้านนอกและด้านในขวา กระดูกข้อมือ ผ่ามือ และนิ้วมือขวา กระดูกหน้าแข้ง กระดูกน่อง และกระดูกข้อเท้าขวา ส่วนที่เหลือติดอยู่ในแนวผนังดินหลุมด้านทิศเหนือ พบร่วมกับภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดงบนพื้นนวลอย่างน้อย 5 ใบ วางอุทิศไว้บริเวณปลายเท้าศพ และชิ้นส่วนกำไลสำริด 1 ชิ้น กำหนดอายุได้ราวสมัยปลายของวัฒนธรรมบ้านเชียง

โครงกระดูกสภาพไม่สมบูรณ์ สามารถใช้ศึกษาได้ร้อยละ 5-10 ในส่วนการประเมินอายุเมื่อตายและร่องรอยผิดปกติที่พบบนโครงกระดูกเท่านั้น โดยพบตามสภาพเบื้องต้น คือ กระดูกปลายแขนด้านนอกและด้านในขวา สภาพชำรุด พบเฉพาะส่วนกลางถึงปลายก้านกระดูก กระดูกข้อมือ ฝ่ามือ และนิ้วมือขวา สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ กระดูกต้นขาซ้ายและขวา สภาพชำรุด พบเฉพาะส่วนก้านและปลายกระดูกเช่นกัน กระดูกสะบ้าซ้าย สภาพชำรุด กระดูกหน้าแข้งและกระดูกน่องซ้ายและขวา สภาพชำรุด พบเฉพาะส่วนหัวถึงกลางก้านกระดูก ส่วนกระดูกข้อเท้า talus ขวา สภาพค่อนข้างสมบูรณ์

ร่องรอยผิดปกติที่พบบนกระดูก

1. กระดูกต้นขาซ้ายและขวา บริเวณ linea aspera พบการยื่นหรือการงอกของกระดูกผิดปกติ น่าจะเกิดจากแรงแค้นของการกระทำหรือรอยยึดเกาะของกล้ามเนื้อ vastus (muscles) ซึ่งช่วยในการเคลื่อนไหวและการหมุนของกระดูกเชิงกราน (สะโพก)

2. กระดูกหน้าแข้งซ้ายและขวา พบรอยเกาะกล้ามเนื้อชัดเจน กระดูกงอกค่อนข้างผิดปกติ ในสองบริเวณด้วยกัน คือ (1) ด้านหน้า ตรงหัวกระดูกหรือปุ่ม tibial (tuberosity) และ (2) ด้านหลัง บริเวณเส้น popliteal (line) น่าจะเกิดจากแรงแค้นการกระทำของกล้ามเนื้อหรือการใช้งานส่วนกล้ามเนื้ออย่างหนักและสม่ำเสมอ ส่งผลให้ร่องรอยเกาะกล้ามเนื้อทั้งสองบริเวณเกิดขึ้นเป็นสันนูนชัดเจน สัมพันธ์กับกิจกรรมที่ใช้การเคลื่อนไหว (การหมุน การยืดและขยาย) ส่วนหัวเข่า ต้นขา กับปลายขา ทั้งกล้ามเนื้อ quadriceps femoris (muscles) และกล้ามเนื้อ popliteus (muscles)

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ