มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B48

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B48
หมายเลขหลุมฝังศพ
48
หมายเลขโครงกระดูก
48
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
Female
วัย/อายุ
Middle adult, >45 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกวางหงายเหยียดยาวตามแนวแกนทิศตะวันออกเฉียงใต้-ตะวันตกเฉียงเหนือ พื้นที่ PSN1 กริด S2E14-15 ระดับชั้นดินสมมติ 160-180 (169-176) cm.dt.

สภาพไม่สมบูรณ์ ชำรุด แตกหัก เปื่อยยุ่ย และถูกรบกวนอย่างมาก พบเฉพาะกะโหลกศีรษะบน ขากรรไกรล่าง กระดูกต้นแขนและปลายแขนซ้าย กระดูกเชิงกราน กระดูกต้นขาทั้งสองข้าง กระดูกหน้าแข้งขวา กระดูกซี่โครง รวมถึงกระดูกข้อมือ ฝ่ามือ และนิ้วมือทั้งสองข้าง ฝังศพด้วยการนำภาชนะดินเผาลายเขียนสีจำนวนอย่างน้อย 5 ใบมาทุบและโปรยทับบนตัวศพ พบร่วมกับหินดุ 1 ชิ้นบริเวณเหนือไหล่ซ้ายของโครงกระดูก (กรมศิลปากร 2535) กำหนดอายุราวสมัยปลายวัฒนธรรมบ้านเชียง

โครงกระดูกพบในสภาพชำรุด เปื่อยยุ่ย และแตกหัก เฉพาะอย่างยิ่งบริเวณหัวและปลายของกระดูกที่พบ สามารถนำมาศึกษาได้ราวร้อยละ 10-15 พบเฉพาะส่วนกะโหลกศีรษะบนบริเวณกระดูกหน้าผากขวา กระดูกข้างขม่อมและกระดูกกกหูซ้ายกับขวา กระดูกขากรรไกรบนขวา และกระดูกกรรไกรล่างขวา ปลายกระดูกต้นแขนซ้าย หัวกระดูกปลายแขนด้านในซ้ายและขวา กระดูกส่วนใหญ่บริเวณข้อมือ ฝ่ามือ และนิ้วมือซ้ายและขวา ก้านกระดูกต้นขาซ้ายและขวา กระดูกสะบ้าขวาสภาพสมบูรณ์ ก้านกระดูกหน้าแข้งขวา ก้านกระดูกน่องซ้าย และบางส่วนของกระดูกซี่โครงซ้ายและขวาที่พบสภาพชำรุด แตกหักและเปื่อยยุ่ย

ร่องรอยผิดปกติที่พบบนกระดูก

1. ปลายกระดูกต้นแขนซ้าย ด้านหลัง พบรูบนกระดูกทรงรีขนาดกว้างประมาณ 0.4 เซนติเมตร ยาว 0.7 เซนติเมตร เกิดขึ้นเนื่องด้วยสาเหตุการอักเสบของกระดูกพรุน (osteomyelitis) เป็นอาการหนึ่งของการติดเชื้อลามจากบาดแผลภายนอกส่งผลให้กระดูกเกิดการอักเสบ

2. ด้านหลังของหัวกระดูกปลายแขนด้านในขวา พบรูกระดูกขนาดกว้าง 0.2 เซนติเมตร ยาว 0.4 เซนติเมตร เป็นลักษณะที่น่าจะเกิดขึ้นกับเจ้าของโครงกระดูกในขณะยังมีชีวิตอยู่ ไม่สามารถสันนิษฐานถึงสาเหตุการเกิดขึ้นได้อย่างใด

3. กระดูกต้นขาขวา พบลักษณะกระดูกงอกตามรอยเกาะกล้ามเนื้อค่อนข้างชัด จากการใช้งานหนักและสม่ำเสมอ หรือการอักเสบเกร็งของกล้ามเนื้อ บริเวณ intertrochanteric line ส่วนยึดเอ็น iliofemoral (ligament) ห่อหุ้มบริเวณหัวของกระดูกต้นขาเข้ากับเบ้าของกระดูกเชิงกราน ช่วยยืดหยุ่นในการหมุนเคลื่อนไหวส่วนต้นขาเข้าสู่แกนกลาง นอกจากนี้ บริเวณด้านหน้า ด้านล่างของหัวกระดูก พบลักษณะแอ่งขนาดเล็ก (คล้ายกับลักษณะของ fovea capilis บริเวณหัวกระดูก) รูปวงรีขนาดกว้าง 0.5 เซนติเมตร ยาว 1 เซนติเมตร ไม่ทราบสาเหตุที่มาแน่ชัด แต่น่าจะมีความสัมพันธ์กับการอักเสบของส่วนกล้ามเนื้อ หรือการหลุดของข้อต่อก็เป็นได้เช่นกัน

4. กระดูกต้นขาซ้าย บริเวณ pectineal line รอยเกาะกล้ามเนื้อ pectineus (muscle) พบกระดูกงอกทับผิวกระดูกเดิม เกิดขึ้นจากสาเหตุการอักเสบของส่วนเยื้อหุ้มกระดูก (periostitis) อันเป็นผลจากการติดเชื้อจากบาดแผลภายนอกเช่นกัน

5. ก้านกระดูกหน้าแข้งขวา บริเวณ soleal (popliteal) line พบรอยเกาะกล้ามเนื้อค่อนข้างชัด น่าจะเป็นผลจากแรงดึงหรือแรงเค้นซึ่งเกิดจากการใช้งานอย่างหนักสม่ำเสมอของกล้ามเนื้อ pepliteusสำหรับยืด และหมุนของหัวเข่า

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ