มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B54

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B54
หมายเลขหลุมฝังศพ
54
หมายเลขโครงกระดูก
54
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
Female
วัย/อายุ
Middle adult, 45-50 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกวางหงายเหยียดยาวตามแนวแกนทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ PSN 1 กริด S4-5E13-15 ระดับชั้นดินสมมติ 150-180 (164-175) cm.dt.

สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ วางสวนทางในระดับใต้หลุมฝังศพหมายเลข 024 และ 025 โครงกระดูกหันศีรษะไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ศพถูกมัดบริเวณหัวเข่า มีรูปแบบการฝังศพด้วยการโปรยหรือวางกลุ่มเศษภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดงบนพื้นนวลรองทับลงบนตัวศพ (กลุ่มเดียวกับที่รองใต้หลุมฝังศพหมายเลข 024 และ 025) พบร่วมกับกำไลสำริดสวมที่กระดูกปลายแขนทั้งสองด้าน กับเครื่องมือเหล็กด้ามเขาสัตว์วางอยู่บริเวณหน้าอกขวาของโครงกระดูก กำหนดอายุราวสมัยปลายของวัฒนธรรมบ้านเชียง

สภาพโครงกระดูกค่อนข้างสมบูรณ์ ศึกษาได้ราวร้อยละ 80-85 ยกเว้นกะโหลกศีรษะบน สภาพชำรุดแตกหักอันเกิดจากแรงกดอัดของดิน หรือแรงทับจากการฝังศพหมายเลข 024 และ 025 ที่อยู่ด้านบน สภาพโดยรวมค่อนข้างดี ไม่พบบางส่วนของกระดูกซี่โครงซ้ายและขวา บางส่วนของกระดูกข้อเท้า ฝ่าเท้า และนิ้วเท้าซ้ายและขวา นอกจากนี้ยังมีบางส่วนของกระดูกที่ชำรุดแตกหักไม่สามารถศึกษาได้ ทั้งลำตัวกระดูกสะบักซ้ายและขวา หัวกระดูกต้นแขนซ้าย กระดูกกระเบนเหน็บ กระดูกเชิงกรานบริเวณ pubis ซ้ายและขวา กับบางส่วนของกระดูกซี่โครงที่พบก็มีลักษณะชำรุด แตกหักเช่นกัน

ร่องรอยผิดปกติที่พบบพนกระดูก

1. กระดูกต้นขาซ้ายและขวา บริเวณ intertrochanteric line พบแนวกระดูกงอกชัดเจน เป็นลักษณะที่เกิดขึ้นจากแรงแค้นการกระทำของเอ็นยึดกล้ามเนื้อ iliofemoral (ligament) ทำหน้าที่สำหรับการยืดหยุ่นของข้อต่อระหว่างหัวกระดูกต้นขาและกระดูกเชิงกราน ส่วนบริเวณกลางก้านกระดูกต้นขาซ้ายพบลักษณะรอยแตกกระดูกเป็นแนวดิ่ง เกิดจากการระเหยหรือการสูญเสียของความชื้นภายในกระดูกหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยฉับพลัน เป็นลักษณะหนึ่ง เกิดขึ้นในกระบวนการย่อยสลายและการทับถมภายหลังการเสียชีวิต

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ