มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B55

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B55
หมายเลขหลุมฝังศพ
55
หมายเลขโครงกระดูก
55
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
?
วัย/อายุ
Infant, 1-2 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกทารกฝังหรือบรรจุในภาชนะดินเผา พื้นที่ PSN 1 กริด S3E14-15 ระดับชั้นดินสมมติ 180-190 (181-190) cm.dt.

โครงกระดูกบรรจุในภาชนะดินเผาก้นกลมลายขัดมันสีแดงและลายปั้นแปะ วางเรียงอยู่กลุ่มเดียวกับภาชนะดินเผาอุทิศของหลุมฝังศพหมายเลข 026 และ 050 ตามแนวแกนทิศตะวันออกเฉียงใต้-ตะวันตกเฉียงเหนือ พบร่วมกับเครื่องประดับกำไลสำริดสวมอยู่ตรงกระดูกปลายขาขวา กับกำไลกระดูกสัตว์สวมอยู่ปลายแขนขวา กำหนดอายุราวสมัยปลายวัฒนธรรมบ้านเชียง

สภาพกระดูกไม่สมบูรณ์ ชำรุด แตกหักหาย และเปื่อยยุ่ย ศึกษาได้ราวร้อยละ 45-50 ไม่พบในส่วนกระดูกสะบักและกระดูกไหปลาร้าซ้าย กระดูกน่องซ้าย กระดูกข้อเท้า นิ้วเท้าซ้ายและขวา บางส่วนของกระดูกข้อมือ นิ้วมือซ้ายและขวากับบางส่วนของกระดูกซี่โครงทั้งสองข้าง ส่วนใหญ่ของกระดูกที่พบชำรุด แตกหักหายโดยเฉพาะกะโหลกศีรษะบนและขากรรไกรล่างที่เปื่อยยุ่ย ไม่สามารถต่อประกอบขึ้นตามรูปเดิม รวมถึงส่วน sternal end ของกระดูกไหปลาร้าขวาชำรุดหักหาย ส่วนหัวกระดูกต้นแขนทั้งสองข้าง ก้านกระดูกปลายแขนด้านในซ้ายและขวา ก้านกระดูกปลายแขนด้านนอกขวา ก้านกระดูกหน้าแข้งซ้าย ตัวกระดูก ilium ซ้ายและขวา และบางส่วนของกระดูกซี่โครงมีลักษณะชำรุดเช่นกัน

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ