มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B57

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B57
หมายเลขหลุมฝังศพ
57
หมายเลขโครงกระดูก
57
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
Female
วัย/อายุ
Young adult, 25-35 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกวางนอนหงายเหยียดยาวตามแนวแกนทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ PSN 2 กริด S10-11E7-8 ระดับชั้นดินสมมติ 170-200 (176-191) cm.dt.

โครงกระดูกฝังใต้แนวหลุมฝังศพหมายเลข 010 สภาพชำรุด แตกหัก โดยเฉพาะกะโหลกศีรษะบน ศพถูกมัดบริเวณหัวเข่าและข้อเท้าส่วนปลายแขนซ้ายและขวาพาดทับบริเวณหน้าอก (มัดบริเวณข้อแขน?) คล้ายการกอดอก พบร่วมกับภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ 1 ใบทางด้านขวาของกระดูกหน้าแข้ง กำหนดอายุราวสมัยปลายวัฒนธรรมบ้านเชียง

สภาพกระดูกไม่สมบูรณ์ ชำรุด แตกหักหาย สามารถนำมาศึกษาได้ราวร้อยละ 30-35 กะโหลกศีรษะบนมีสภาพชำรุด พบเฉพาะส่วนหน้าผาก กระดูกข้างขม่อม และส่วนท้ายทอย ไม่พบส่วนกระดูกใบหน้าและขากรรไกรบนแต่อย่างใด กระดูกขากรรไกรล่างพบสมบูรณ์ดี ไม่พบในส่วนกระดูกสะบักขวา กระดูกลิ้นปี่ กระดูกกระเบนเหน็บ กระดูกเชิงกรานซ้าย ส่วนกระดูกข้อเท้า ฝ่าเท้า และนิ้วเท้าซ้ายและขวาทั้งหมด กระดูกสันหลังส่วนใหญ่โดยเฉพาะช่วงลำตัวและเอว ส่วนใหญ่ของกระดูกซี่โครงซ้ายและขวา กับบางส่วนของกระดูกข้อมือ ฝ่ามือ และนิ้วมือซ้ายและขวา

ร่องรอยผิดปกติที่พบบนกระดูก

1. กระดูกปลายแขนด้านนอกและด้านในซ้ายและขวา ด้านหลังของก้านกระดูกต้นขาซ้าย และด้านหลังของกระดูกเชิงกรานขวาพบรอยแตกตามแนวดิ่ง เกิดขึ้นในกระบวนการย่อยสลายหรือกระบวนการทับถมภายหลังการเสียชีวิต โดยเกิดขึ้นจากปัจจัยเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและความชื้นของกระดูกอย่างกระทันหัน

2. กระดูกปลายแขนด้านนอกขวา ตรงส่วนก้านกระดูกพบรอยสับตัดจากเครื่องมืออย่างหนาแน่นตั้งแต่กลางถึงปลายกระดูก

3. กระดูกสะบักซ้าย บริเวณ infraglenoid tubercle ด้านหน้า พบแนวกระดูกงอกสร้างทับผิวกระดูกเดิม เป็นลักษณะหนึ่งเกิดจากการติดเชื้อบาดแผลภายนอก ส่งผลให้เยื่อหุ้มกระดูกเกิดการอักเสบ

4. กระดูกต้นขาขวา ด้านหน้าใกล้หัวกระดูก พบรอยยึดส่วนเอ็นเกาะกล้ามเนื้อ iliofemoral ligamentทำหน้าที่สำหรับการยืดหยุ่นของข้อต่อระหว่างหัวกระดูกต้นขาและกระดูกเชิงกรานค่อนข้างชัด ส่วนบริเวณกลางก้านกระดูกด้านหน้าพบกระดูกงอกผิดปกติเป็นปุ่มแหลมขนาดเล็กน่าจะเกิดจากการสมานเนื้อกระดูกภายหลังการบาดเจ็บหรือได้รับการกระแทกส่วนกระดูก ส่วนด้านหลัง พบรอยเกาะกล้ามเนื้อชัดเจนบริเวณ linea aspera ส่วนเริ่มต้นของกล้ามเนื้อ vastus lateralis สำหรับการยืดยึดบริเวณหัวเข่า

5. กระดูกหน้าแข้งและกระดูกน่องซ้าย พบลักษณะผิวกระดูกลายไม้ มีการสร้างผิวใหม่ทับแนวผิวกระดูกเดิมทั่วก้านกระดูกทั้งสองชิ้น มีส่วนกระดูกค่อนข้างหนาผิดปกติตรงส่วนสันด้านที่ต่อกับกระดูกน่อง และพบกระดูกงอกหนาแน่นสุดบริเวณปลายกระดูกด้านที่ต่อกับข้อเท้า ลักษณะดังกล่าวน่าจะเกิดจากการติดเชื้อแผลอักเสบภายนอกบริเวณข้อเท้า และเกิดการติดเชื้อ ส่งผลให้เยื่อหุ้มกระดูกเกิดการอักเสบไล่เรื่อยมาจากข้อเท้าและปลายขา นอกจากนี้ยังพบกระดูกงอกด้านหลังของกระดูกหน้าแข้ง บริเวณ soleal (popliteal) line อันน่าจะเกิดจากรอยเกาะ หรือแรงแค้นการกระทำกล้ามเนื้อ popliteus (muscle) ที่ใช้ในการหมุนและเกร็งส่วนหัวเข่า

6. ส่วนกระดูกหน้าแข้งและกระดูกน่องขวา พบลักษณะเยื่อหุ้มกระดูกอักเสบเช่นกัน แต่ไม่หนาแน่นหรือหนักเท่ากับทางด้านขวา ส่วนใหญ่มีกระดูกงอกหนาแน่นตรงสันกลางเชื่อมระหว่างกระดูกหน้าแข้งและกระดูกน่อง หรือบริเวณ interosseus crest

7. ก้านกระดูกฝ่ามือขวาชิ้นที่ 2-5 (นิ้วชี้ถึงนิ้วก้อย) และก้านกระดูกนิ้วมือข้อแรกชิ้นที่ 1, 4 และ 5 (นิ้วโป้ง นิ้วนาง และนิ้วก้อย) พบการสร้างผิวกระดูกใหม่ทับผิวกระดูกเดิมใค่อนข้างหนาแน่น เป็นผลจากอาการติดเชื้อ และส่งผลให้เยื่อหุ้มกระดูกเกิดการอักเสบเช่นเดียวกัน

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ