มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B59

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B59
หมายเลขหลุมฝังศพ
59
หมายเลขโครงกระดูก
59
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
?
วัย/อายุ
Neonate
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกทารกฝังลงในภาชนะดินเผา วางตามแนวแกนทิศตะวันออกเฉียงใต้-ตะวันตกเฉียงเหนือ พื้นที่ PSN 1 กริด S2E15-16 ระดับชั้นดินสมมติ 160-180 cm.dt.

สภาพโครงกระดูกไม่สมบูรณ์แตกหัก ฝังในภาชนะดินเผาผิวสีนวล ทรงปากผาย ก้นแหลม ตกแต่งด้วยลายเชือกทาบบริเวณกลางถึงส่วนก้น และคาดด้วยลายปั้นแปะทับบริเวณกลางลำตัวโครงกระดูกถูกกวนค่อนข้างมาก พบเฉพาะช่วงกลางลำตัว (ช่วงกระดูกปลายแขนถึงกระดูกปลายขา) พบร่วมกับกำไลข้อเท้าพร้อมกระพรวนสำริดสวมอยู่บริเวณปลายเท้าซ้ายและขวาของศพอย่างละ 1 วง หลุมฝังศพดังกล่าวน่าจะมีความสัมพันธ์กับหลุมฝังศพผู้ใหญ่หมายเลข 060 ที่พบในระดับเดียวกันทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของภาชนะ กำหนดอายุได้ราวสมัยปลายวัฒนธรรมบ้านเชียง

โครงกระดูกไม่สมบูรณ์ สามารถนำมาใช้ศึกษาได้ราวร้อยละ 15-20 โครงกระดูกพบเฉพาะส่วนก้านกระดูกปลายแขนด้านนอกและด้านในซ้าย ปลายก้านกระดูกชำรุด แตกหัก บางส่วนของกระดูกฝ่ามือ (นิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วนาง) และนิ้วมือซ้าย ลำตัวกระดูกเชิงกราน ilium ขวา และ ischium ซ้าย ก้านกระดูกต้นขาซ้ายและขวา สภาพปลายก้านกระดูกแตกหัก และส่วนกลางก้านกระดูกหน้าแข้งและกระดูกน่องซ้ายและขวา

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ