โครงกระดูกฝังในท่านอนหงายเหยียดยาวตามแนวแกนทิศตะวันออกเฉียงใต้-ตะวันตกเฉียงเหนือ พื้นที่ PSN1 กริด S1-2E14-16 ระดับชั้นดินสมมติ 170-200 (170-194) cm.dt.
สภาพโครงกระดูกน่าจะมีความสัมพันธ์เป็นพิเศษกับหลุมฝังศพเด็กบรรจุในภาชนะดินเผาหมายเลข 059 ที่วางอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ฝังศพโดยการนำภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดงบนพื้นนวลและลายขัดมันสีแดงขนาดใหญ่อย่างน้อย 5 ใบทุบและวางทับลงบนศพ พบร่วมกับใบหอกเหล็กและด้ามบริเวณหัวไหล่ขวา กับใบเครื่องมือเหล็กวางบริเวณปลายแขนขวา พบการมัดศพบริเวณหัวเข่าและปลายเท้า กำหนดอายุราวสมัยปลายวัฒนธรรมบ้านเชียง
สภาพโดยรวมค่อนข้างสมบูรณ์ สามารถศึกษาได้ราวร้อยละ
65-70
ไม่พบบางส่วนของกระดูกซี่โครง กระดูกสันหลังช่วงลำคอชิ้นที่ 1
และ 5-6 กระดูกสันหลังช่วงลำตัวชิ้นที่ 3-5
และ 9-12 กระดูกสันหลังช่วงเอวชิ้นที่ 1
บางส่วนของกระดูกข้อมือ ฝ่ามือ และนิ้วมือ กับกระดูกข้อเท้า ฝ่าเท้า
และนิ้วเท้าขวา กับบางส่วนของกระดูกเท้าซ้าย ส่วนกระดูกที่พบมีสภาพชำรุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกะโหลกศีรษะบนที่พบเฉพาะกะโหลกข้างขม่อมขวา กระดูกท้ายทอย
กระดูกขากรรไกรบนซ้าย และขากรรไกรล่าง สภาพสมบูรณ์
รวมถึงลำตัวของกระดูกสะบักซ้ายและขวา ปลายด้านใกล้กลางของกระดูกไหปลาร้าขวา
กระดูกลิ้นปี่ช่วงบน ขอบและส่วนกระดูกหัวเหน่าของกระดูกเชิงกรานซ้ายและขวา
ปลายก้านกระดูกต้นขาขวากับส่วนล่างของกระดูกสะบ้าขวา
บางส่วนของกระดูกซี่โครงซ้ายและขวา กับบางส่วนของกระดูกสันหลังที่ส่วนลำตัวและ spine
ร่องรอยผิดปกติที่พบนบนกระดูก
1. กระดูกไหปลาร้าขวา บริเวณ superior surface (e3) พบรอยกดกล้ามเนื้อ pectoralis major (muscle) ชัดเจน โดยกล้ามเนื้อดังกล่าวทำหน้าที่สำหรับหุบ งอ และหมุนต้นแขนเข้ามาข้างใน (สนั่น สุขวัจน์ 2515) บริเวณผิวบนกระดูกด้านปลายที่เชื่อมต่อกับ acromion ของกระดูกสะบัก หรือบริเวณ conoid tubercle และ trapezoid line พบรอยเกาะของกล้ามเนื้อชัดเจนเช่นกัน โดยน่าเป็นลักษณะเกิดขึ้นจากแรงแค้นการกระทำของเอ็นยึดกล้ามเนื้อ (ligament) conoid และ trapezoid ส่วนข้อต่อกระดูกไหปลาร้าและกระดูกสะบัก (White 1991) บริเวณปลายกระดูกหรือ acromion end กระดูกค่อนข้างบวมใหญ่ผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากการสมานของเนื้อกระดูกภายหลังการได้รับบาดเจ็บ ขณะที่ผิวด้านบนของกระดูกดังกล่าวขรุขระ เป็นการสร้างผิวใหม่ทับแนวผิวกระดูกเดิม เป็นลักษณะที่เกิดขึ้นได้จากการอักเสบของเยื่อหุ้มกระดูก
2. กระดูกไหปลาร้าซ้าย บริเวณส่วนหัวกระดูกด้านใกล้กลางเชื่อมเข้ากับกระดูกลิ้นปี่ หรือ sternal end พบกระดูกค่อนข้างใหญ่และบวมผิดปกติคล้ายกับการสมานเนื้อกระดูกหลังการบาดเจ็บหรืออาจจะเกิดขึ้นจากแรงกดการใช้งานของกล้ามเนื้อส่วนหน้าอก บริเวณปลายกระดูกหรือ acromion end พบลักษณะบวมใหญ่เช่นเดียวกับที่พบในส่วนกระดูกไหปลาร้าขวา นอกจากนี้ บริเวณ superior surface ยังพบลักษณะรอยเกาะกล้ามเนื้อ pectoralis major (muscle) ชัดเจนเช่นเดียวกัน
3. กระดูกสะบักซ้ายและขวา ส่วนขอบด้านไกลกลางของกระดูก หรือ axillary border และ infraglenoid tubercle ผิวกระดูกค่อนข้างหนาและขรุขระ เป็นลักษณะเกิดขึ้นจากแรงแค้นการกระทำของกล้ามเนื้อ triceps brachi (muscles) ที่ใช้ในการเหยียดปลายแขนและข้อศอก (สนั่น สุขวัจน์ 2515) ด้านกระดูกสะบักขวา ตรงตำแหน่งใกล้กลางของ coronoid process พบกระดูกงอกผิดปกติซึ่งสัมพันธ์กับความขรุขระของผิวกระดูกไหปลาร้าขวา บริเวณ acromion end
4. กระดูกต้นแขนซ้ายและขวา บริเวณปุ่ม deltoid (tuberosity) พบรอยกดกล้ามเนื้อค่อนข้างลึกอันเป็นผลจากแรงแค้นการกระทำของกล้ามเนื้อ deltoid (muscle) สำหรับการกางต้นแขนขึ้นเป็นมุมฉาก ขณะที่บริเวณผิวด้านหน้าใต้หัวกระดูก หรือ crest of leser tubercle ที่เป็นส่วนยึดปลายกล้ามเนื้อ teres major (muscle) ก็พบรอยเกาะกล้ามเนื้อลึกชัดเจนเช่นกัน โดยกล้ามเนื้อดังกล่าวทำหน้าที่หุบแขนและหมุนต้นแขนเข้าข้างใน (สนั่น สุขวัจน์ 2515) บริเวณปลายก้านด้านไกลกลางของกระดูกหรือ lateral supracondylar crest (ridge) พบผิวขอบกระดูกค่อนข้างหนาและขรุขระ สัมพันธ์กับส่วนปลายด้านไกลกลาง หรือ lateral epicondyle ที่ผิวกระดูกค่อนข้างหนาและพบกระดูกงอกเป็นแนว ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นจากแรงดึงหรือแรงที่เกิดจากการกระทำของเอ็นยึด radial collateral (ligament) กลุ่มกล้ามเนื้อบริเวณข้อศอกที่เป็นตัวควบคุมการงอและการเหยียดของกระดูกส่วนปลายแขน (White 1991) ด้านบริเวณพื้นผิวด้านหน้าของส่วนปลายกระดูกต้นแขนขวา (trochlea) ด้านที่เชื่อมต่อกับหัวกระดูกปลายแขนด้านใน พบลักษณะเป็นแอ่งลึก เกิดจากแรงดึงหรือแรงกดที่เกิดจากกิจกรรมการงอหรือการหงายส่วนข้อศอกเป็นประจำ
5. กระดูกปลายแขนด้านในและด้านนอก บริเวณสันแบ่งระหว่าง (ด้านหน้าและด้านหลัง) ก้านกระดูกหรือ interosseus crest มีการยื่น (และโค้ง) ผิวกระดูกหนา และเนื้อผิวขรุขระมากกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากส่วนเนื้อเยื่อกั้นกลางระหว่างกระดูก (interosseus membrane) อักเสบ หรือถูกใช้งานส่วนของข้อมืออย่างหนักและสม่ำเสมอ ส่งผลให้กระดูกบริเวณดังกล่าวถูกสร้างขึ้นมาโดยมีขนาดหนาและโค้งกว่าลักษณะปกติ
6. หัวกระดูกนิ้วมือขวาชิ้นที่ 1-5 (นิ้วโป้ง-นิ้วก้อย) บริเวณปลายกระดูกพบรอยกดของกล้ามเนื้อค่อนข้างลึกเกิดจากกิจกรรมการใช้งาน ขณะที่กระดูกชิ้นที่ 2-5 (นิ้วชี้-นิ้วก้อย) พบรอยแตกตามแนวยาวของกระดูก เกิดขึ้นในกระบวนการทับถมและย่อยสลายหลังการเสียชีวิต
7. กระดูกเชิงกรานซ้ายและขวา บริเวณผิวด้านหน้าของ greater sciatic notch พบรอยเกาะกล้ามเนื้อชัดเจน โดยเป็นกล้ามเนื้อ piriformis หรือกล้ามเนื้อแบนที่มีจุดเริ่มต้นจากส่วนหน้าของกระดูกก้นกบและสิ้นสุดที่ greater trochanter ของกระดูกต้นขา จัดเป็นส่วนหนึ่งของกล้ามเนื้อ gluteus medius (muscle) ที่ทำหน้าที่สำหรับการกางต้นขา
8. กระดูกต้นขาซ้ายและขวา บริเวณด้านหลังของก้านกระดูกบน หรือ gluteal line พบรอยเกาะของกล้ามเนื้อชัดเจน เป็นลักษณะที่เกิดขึ้นด้วยแรงแค้นจากการกระทำของกล้ามเนื้อ gluteus maximus (muscle) ที่ช้สำหรับเหยียดและกางต้นขา (สนั่น สุขวัจน์ 2515)
9. กระดูกหน้าแข้งและกระดูกน่องซ้าย บริเวณด้านที่เชื่อมต่อระหว่าง fibula notch ของกระดูกหน้าแข้ง และบริเวณ peroneal groove ของกระดูกน่อง และด้านไกลกลางของก้านกระดูกน่อง ผิวกระดูกค่อนข้างขรุขระคล้ายลักษณะการติดเชื้อที่ส่งผลให้เยื่อหุ้มกระดูกอักเสบ ซึ่งลักษณะดังกล่าวยังพบได้ในกระดูกหน้าแข้งและกระดูกน่องขวา แต่พบลักษณะร่องรอยที่หนาแน่นกว่าทั้งส่วนแนวยาวของก้านกระดูกหน้าแข้งทั้งด้านใกล้กลางและด้านหลังของผิวกระดูกที่พบลักษณะการงอกของผิวกระดูกใหม่ทับแนวผิวกระดูกเดิม