มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B66

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B66
หมายเลขหลุมฝังศพ
66
หมายเลขโครงกระดูก
66
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
?
วัย/อายุ
Young adult, >23 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกผู้ใหญ่ วางฝังนอนหงายเหยียดยาวตามแนวแกนทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ PSN3 กริด S13-14E5-7 ระดับชั้นดินสมมติ 130-190 (157-183) cm.dt.

สภาพทั่วไปของโครงกระดูกชำรุดและถูกรบกวน ส่วนใหญ่ของกระดูกติดอยู่ในผนังหลุมด้านทิศตะวันออก พบแต่เพียงกระดูกปลายแขนด้านนอกและด้านในซ้ายกับขวา สวมใส่กำไลสำริดด้านละอย่างน้อย 30 วง และกลุ่มลูกปัดแก้วสีเขียวทรงถังเบียร์ที่ติดอยู่บริเวณด้านในของชุดกระดูกปลายแขนขวา (ปลายแขนขวายังคงติดร่วมกับห่วงกำไลสำริด จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง อุดรธานี) และก้านกระดูกต้นขาซ้ายและขวา กำหนดอายุราวสมัยปลายวัฒนธรรมบ้านเชียง

โครงกระดูกพบในสภาพไม่สมบูรณ์ สามารถใช้ศึกษาได้ร้อยละ 5-10 ในส่วนการประเมินอายุเมื่อตายและร่องรอยผิดปกติที่พบกระดูกเท่านั้น พบกระดูกตามสภาพดังนี้ คือ กระดูกปลายแขนด้านนอกและด้านในซ้ายชำรุด บริเวณหัวกระดูกแตกหัก กระดูกต้นขาซ้าย สภาพชำรุดพบเฉพาะปลายก้านกระดูก และกระดูกต้นขาขวา สภาพชำรุด พบเฉพาะส่วนหัวและก้านกระดูกเท่านั้น

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ