มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B67

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B67
หมายเลขหลุมฝังศพ
67
หมายเลขโครงกระดูก
67
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
?
วัย/อายุ
Child, 3-4 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกเด็ก วางนอนหงายเหยียดยาวตามแนวแกนทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ พื้นที่ PSN 3 กริด S12E5-6 ระดับชั้นดินสมมติ 210-230 (215-221) cm.dt.

โครงกระดูกสภาพชำรุด ถูกรบกวนมากโดยเฉพาะกระดูกโครงสร้างแกนลำตัวและโครงสร้างสาขาตอนบนที่ชำรุดหักหายเป็นส่วนใหญ่ จากการรบกวนของโพรงแมลงใต้โครงกระดูก ด้านบนของกะโหลกศีรษะถูกทับด้วยก้อนศิลาแลงขนาดใหญ่ส่งผลให้กะโหลกศีรษะบนยุบ ชำรุด แตกหัก พบร่วมกับภาชนะดินเผาจำนวน 2 ใบบริเวณใต้กระดูกปลายขาจำนวน 1 ใบและด้านซ้ายของกะโหลกศีรษะอีก 1 ใบ ทั้งสองใบจัดเป็นภาชนะดินเผาสีส้มอมนวล ตกแต่งด้วยลายเชือกทาบวางเป็นวัตถุอุทิศให้กับศพ กำหนดอายุราวสมัยต้นวัฒนธรรมบ้านเชียง

โครงกระดูกพบไม่สมบูรณ์ ชำรุด แตกหัก โดยเฉพาะส่วนกะโหลกศีรษะบนแตกหักออกเป็นแผ่น สภาพที่พบสามารถนำมาศึกษาได้ร้อยละ 15-20 พบส่วนของกระดูกดังนี้ คือ กะโหลกศีรษะบนชำรุด แตกหัก ขากรรไกรล่างสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ก้านกระดูกไหปลาร้าขวา บางส่วนของกระดูกซี่โครงขวา ก้านกระดูกต้นขาขวาและซ้าย สภาพชำรุดแตกหักบริเวณส่วนหัวกระดูก ก้านกระดูกหน้าแข้งและน่องซ้ายสภาพเกือบสมบูรณ์ ก้านกระดูกหน้าแข้งและน่องขวาชำรุดแตกหัก กับส่วนของกระดูกข้อเท้า calcaneus ซ้าย สภาพสมบูรณ์

ร่องรอยผิดปกติที่พบนบนกระดูก

1. ก้านกระดูกต้นขาซ้ายและขวา พบรอยแตกตามแนวดิ่ง รอยผุของกระดูกค่อนข้างมาก ซึ่งเกิดขึ้นในการทับถมและย่อยสลายหลังการเสียชีวิต หลักฐานดังกล่าวสนับสนุนถึงผลการรบกวนที่เกิดขึ้นจากปัจจัยทางธรรมชาติและสัตว์ เช่น การทำโพรงหรือรังของแมลงใต้โครงกระดูก ส่งผลให้โครงกระดูกส่วนใหญ่หายไป หรือถูกรบกวนกระจายในพื้นที่อื่น ไม่พบร่วมในหลุมฝังศพอย่างใด

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ