มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B68

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B68
หมายเลขหลุมฝังศพ
68
หมายเลขโครงกระดูก
68
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
Male
วัย/อายุ
Middle adult, 35-40 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกฝังวางหงายเหยียดยาวตามแนวแกนทิศตะวันตกเฉียงใต้-ตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ PSN1 กริด S6E14-16 ระดับชั้นดินสมมติ 220-250 (226-244) cm.dt.

สภาพไม่สมบูรณ์ ชำรุด ด้านซ้ายของโครงกระดูกถูกกวนจากหลุมฝังศพหมายเลข 070 ที่ตัดวางสวนทิศทางการฝังศพ พบร่วมกับกลุ่มเปลือกหอยวางกองใต้หัวกระดูกต้นแขนขวา ภาชนะดินเผาจำนวน 2 ใบวางอยู่บริเวณกระดูกต้นขาซ้ายในลักษณะที่ตั้งหงายปากภาชนะขึ้นร่วมกับก้อนดินเผาไฟขนาดใหญ่ ชิ้นส่วนเครื่องมือหินวางห่างจากกระดูกต้นแขนซ้ายไปทางทิศเหนือประมาณ 10 เซนติเมตร และชิ้นส่วนขวานหินขัดใต้ต้นแขนขวาของโครงกระดูก กำหนดอายุราวสมัยต้นของวัฒนธรรมบ้านเชียง

สภาพโดยรวมของโครงกระดูกค่อนข้างชำรุด สามารถศึกษาได้ร้อยละ 65-70 ส่วนกะโหลกศีรษะบน พบค่อนข้างสมบูรณ์ แต่กระดูกค่อนข้างเปราะและแตกหักง่าย โดยเฉพาะในส่วนเบ้าตาและท้ายทอย พบร่วมกับขากรรไกรล่าง ทั้งนี้ไม่พบในส่วนกระดูกปลายแขนด้านนอกขวา กระดูกเชิงกรานขวา กระดูกต้นขาซ้าย กระดูกสะบ้าซ้ายและขวา กระดูกข้อมือ ฝ่ามือ และนิ้วมือซ้าย บางส่วนของกระดูกข้อมือ ฝ่ามือ และนิ้วมือขวา บางส่วนของกระดูกข้อเท้า ฝ่าเท้า และนิ้วเท้าซ้ายและขวา กับบางส่วนของกระดูกซี่โครงทั้งสองข้าง

ส่วนกระดูกที่พบมีลักษณะชำรุดแตกหัก ได้แก่ กระดูกไหปลาร้าขวาส่วนที่เชื่อมต่อกับกระดูกลิ้นปี่ ส่วนลำตัวกระดูกสะบักซ้ายและขวา ลำตัวของกระดูกลิ้นปี่ ปลายก้านกระดูกปลายแขนด้านในขวา ส่วนขอบลำตัวของกระดูกเชิงกรานและกระดูกหัวเหน่าซ้าย ลำตัวกระดูกกระเบนเหน็บ ส่วนหัวและปลายก้านกระดูกต้นขาขวา และบางส่วนของกระดูกซี่โครงทั้งสองข้าง

ร่องรอยผิดปกติที่พบบนกระดูก

1. กระดูกปลายแขนด้านนอกและด้านในขวา บริเวณinterosseus crest มีการยื่นโค้งและผิวกระดูกขรุขระมากกว่าปกติ อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุส่วนเนื้อเยื่อกั้นกลางระหว่างกระดูก (interosseus membrane) อักเสบ หรือถูกใช้งานอย่างหนักเป็นประจำส่งผลให้กระดูกดังกล่าวมีขนาดหนา โค้ง และขรุขระ

2. กระดูกไหปลาร้าขวา บริเวณ costal impression tuberosity มีกระดูกงอกผิดปกติ ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นที่ยึดของเอ็น costoclavicular (ligament) หรือเอ็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนยึดเชื่อมต่อกับส่วนกระดูกอ่อนของซี่โครงแท้ที่ 1 เป็นส่วนข้อต่อสำคัญที่เชื่อมกับกระดูกลิ้นปี่ (manubrium) ลักษณะที่เกิดขึ้นน่าจะสัมพันธ์กับลักษณะผิดปกติที่พบบนกระดูกลิ้นปี่ และปลายกระดูกซี่โครงแท้ (true ribs) ทางซ้ายและขวาด้านที่เชื่อมต่อกับกระดูกอ่อน (costal cartilage) ซึ่งพบกระดูกงอกผิดปกติ คล้ายกับอาการของข้อต่อเสื่อมสภาพในระยะปานกลาง (moderate osteoarthritis) เพราะขอบกระดูกทั้งส่วนปลายกระดูกซี่โครงและขอบ costal ของกระดูกลิ้นปี่มีลักษณะงอกและเชื่อมต่อเข้าหากัน โดยอาจจะเกิดได้ด้วย 3 สาเหตุสำคัญ คือ (1) ส่วนของกระดูกอ่อนเกิดการอักเสบ จากอาการเรื้อรังบางอย่างตรงบริเวณทรวงอก (ไอเรื้อรัง ฯลฯ) หรือ (2) การเสื่อมสภาพของข้อต่อบริเวณกระดูกซี่โครง กระดูกลิ้นปี่ และกระดูกไหปลาร้า จากการใช้งาน ปัจจัยการเสื่อมสภาพ และอาการจากโรคติดเชื้อ และ (3) บาดแผลบริเวณส่วนกระดูกส่วน (กลางหน้าอก) เกิดจากการกระแทก การได้รับบาดเจ็บ หรืออุบัติเหตุ และเกิดการสมาน หรือการรักษาตามกระบวนการโดยธรรมชาติ ก็เป็นได้

3. กระดูกฝ่าเท้าชิ้นที่ 1 (นิ้วโป้ง) ซ้ายและขวา ด้านใกล้กลางใต้ฝ่าเท้าพบรอยเกาะกล้ามเนื้อค่อนข้างชัดของกล้ามเนื้อ abductor hallucis (muscle) ทำหน้าที่ช่วยในการยึดทรงโค้งตามรูปของฝ่าเท้า และควบคุมการเหยียดงอโดยเฉพาะในส่วนนิ้วโป้งเท้า

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ