มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B69

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B69
หมายเลขหลุมฝังศพ
69
หมายเลขโครงกระดูก
69
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
Female
วัย/อายุ
Middle adult, 45-50 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกวางนอนหงายเหยียดยาวตามแนวแกนทิศตะวันออก-ตะวันตก พื้นที่ PSN1 กริด S4E15-16 ระดับชั้นดินสมมติ 210-240 (231-238) cm.dt.

สภาพไม่สมบูรณ์ ชำรุด แตกหัก บริเวณหน้าผากและด้านข้างของกะโหลกศีรษะพบรอยเจาะกะโหลก (trephination) กระดูกปลายแขนซ้ายไม่วางเรียงตามหลักทางสรีระ ซี่โครงและกระดูกสันหลังบางส่วนหักหายไป ศพน่าจะถูกมัดบริเวณข้อเท้า พบร่วมกับภาชนะดินเผาลายเชือกทาบจำนวน 2 ใบ วางอยู่ตรงปลายเท้าซ้ายโครงกระดูก กำหนดอายุราวสมัยต้นวัฒนธรรมบ้านเชียง

สภาพโดยรวมของโครงกระดูกชำรุดมาก สามารถประเมินศึกษาได้ราวร้อยละ 20-25 เพราะส่วนใหญ่เปื่อยยุ่ย และแตกหัก โดยเฉพาะกะโหลกศีรษะบน พบเพียงกระดูกหน้าผาก กระดูกข้างขม่อมซ้ายและขวา และกระดูกท้ายทอย (จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง) ช่วงใบหน้าและกระดูกขากรรไกรบนชำรุดแตกหัก กระดูกขากรรไกรล่างพบค่อนข้างสมบูรณ์ ส่วนกระดูกอื่นพบตามสภาพเบื้องต้น คือ กระดูกไหปลาร้าขวาค่อนข้างสมบูรณ์ กระดูกต้นแขนขวาชำรุด พบเฉพาะก้านกระดูก กระดูกต้นแขนซ้ายชำรุด ส่วนหัวกระดูกหักหาย กระดูกปลายแขนด้านในขวาชำรุดเหลือแต่เพียงก้านกระดูก เช่นเดียวกับกระดูกปลายแขนด้านนอกและในซ้ายเหลือแต่เพียงส่วนปลายถึงกลางก้านกระดูก

กระดูกลิ้นปี่ สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ กระดูกซี่โครงซ้ายกับขวา และกระดูกสันหลังชำรุดเปื่อยยุ่ย บางส่วนของกระดูกฝ่ามือและนิ้วมือซ้าย สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ส่วนช่วงล่างของลำตัว พบกระดูกต้นขาซ้ายและขวา สภาพชำรุดบริเวณหัวกระดูกหักหาย กระดูกหน้าแข้งและกระดูกน่องซ้ายและขวา ชำรุดทั้งสองข้าง เหลือแต่เพียงกลางก้านถึงปลายกระดูก กระดูกฝ่าเท้าและนิ้วเท้าซ้ายกับขวา พบเพียงบางส่วน สภาพค่อนข้างสมบูรณ์

ร่องรอยผิดปกติที่พบบนกระดูก

1. กระดูกไหปลาร้าขวา บริเวณ coastal impression (tuberosity) พบกระดูกงอกผิดปกติ เกิดจากการใช้งานส่วนเอ็นยึดกล้ามเนื้อ costoclavicular (ligament) อย่างหนัก หรืออาการของโรคอย่าง ไอเรื้อรัง ฯลฯ เช่นเดียวกับลักษณะของกระดูกงอกบริเวณ colacoid tuberosity ซึ่งน่าจะเกิดจากแรงดึงหรือการใช้งานส่วนเอ็นกล้ามเนื้อ conoid (ligament) ที่รั้งสัมพันธ์ส่วนหัวไหล่และต้นแขน

2. กระดูกปลายแขนด้านในซ้าย ด้านไกลกลาง พบรอยสับตัดบนผิวกระดูก เป็นลักษณะที่เกิดขึ้นภายหลังการเสียชีวิต

3. ด้านหลังของกระดูกต้นขาซ้ายและขวา พบผิวกระดูกแตกตามแนวดิ่ง เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางอุณหภูมิของกระดูกอย่างฉับพลันส่งผลให้เกิดรอยร้าวหรือรอยแตก เป็นอีกลักษณะหนึ่งซึ่งเกิดหลังการเสียชีวิต ในขั้นกระบวนการทับถมและย่อยสลายโครงกระดูก

4. ปลายกระดูกน่องซ้าย ด้านใกล้กลางและด้านหลัง พบลักษณะกระดูกที่ถูกสับตัดเป็นรอยแอ่งเล็กลึกตรงส่วนผิวกระดูก ไม่ทราบสาเหตุที่มา แต่น่าจะเกิดขึ้นจากการรบกวนด้วยการกระทำของมนุษย์หรือสัตว์ ในกระบวนการทับถมและย่อยสลายของโครงกระดูกเช่นเดียวกัน

5. กระดูกนิ้วเท้าขวาชิ้นที่ 1 (นิ้วโป้ง) ข้อแรก (proximal phalange) พบรูบนกระดูกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 มิลลิเมตร ทะลุจากผิวด้านบน (dorsal) ถึงด้านฝ่าเท้า (plantar) ไม่ทราบสาเหตุอย่างใด แต่น่าจะเกิดขึ้นจากการรบกวนในกระบวนการทับถมและการย่อยสลายภายหลังการเสียชีวิต

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ