มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B72

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B72
หมายเลขหลุมฝังศพ
72
หมายเลขโครงกระดูก
72
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
Female
วัย/อายุ
Young adult, >24 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกฝังท่านอนหงายเหยียดยาวตามแนวแกนทิศตะวันออก-ตะวันตก พื้นที่ PSN 1กริด S1E15-16 ระดับชั้นดินสมมติ 240-260 (244-255) cm.dt.

สภาพทั่วไปโครงกระดูกถูกรบกวนมาก พบเพียงบางส่วนเท่านั้น คือ กระดูกปลายแขนด้านในขวา กระดูกต้นขา และกระดูกปลายขาทั้ง 2 ข้าง กับกระดูกซี่โครงและกระดูกเชิงกรานบางส่วน ศพน่าจะถูกมัดบริเวณปลายเท้าศพส่งผลให้กระดูกน่องขวาพลิกเข้าด้านใน ส่วนกะโหลกศีรษะและส่วนใหญ่ของกระดูกลำตัวช่วงบนน่าจะติดอยู่ในผนังชั้นดินทางด้านทิศตะวันออก ไม่พบวัตถุอุทิศร่วมกับศพ กำหนดอายุราวสมัยต้นวัฒนธรรมบ้านเชียง

สภาพโดยรวมกระดูกไม่สมบูรณ์ พบเฉพาะลำตัวส่วนล่างสามารถใช้ประเมินศึกษาได้ราวร้อยละ 10-15 ตามสภาพดังรายละเอียด คือ กระดูกซี่โครงซ้ายและขวาชำรุดแตกหัก กระดูกปลายแขนด้านในขวา สภาพสมบูรณ์ กระดูกฝ่ามือซ้ายชิ้นที่ 1 และ 3 (นิ้วโป้งและนิ้วกลาง) สภาพสมบูรณ์ บางส่วนของกระดูกเชิงกรานซ้ายและขวา สภาพชำรุดพบเฉพาะบริเวณ ischial tuberosity กระดูกกระเบนเหน็บ สภาพชำรุดเช่นเดียวกัน พบเฉพาะส่วน S3-S5 กระดูกต้นขาซ้ายและขวา สภาพชำรุด พบเฉพาะก้านกระดูก กระดูกสะบ้าขวา สภาพสมบูรณ์ กระดูกปลายขาและกระดูกน่องซ้ายและขวา สภาพชำรุด พบเฉพาะก้านกระดูกเท่านั้น

ร่องรอยผืดปกติที่พบบนกระดูก

1. กระดูกเชิงกราน ischium ซ้าย ตรงส่วน ischial tuberosity ด้านล่าง พบรอยเจาะกระดูก รูกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.6 เซนติเมตร เป็นลักษณะรอยกระดูกจากการกระทำของสัตว์ ในการทับถมและการย่อยสลาย ภายหลังการเสียชีวิต

2. กระดูกต้นขาขวา พบรอยเกาะกล้ามเนื้อบนค่อนข้างชัด เกิดจากการใช้งานส่วนกล้ามเนื้ออย่างหนักและสม่ำเสมอ หรืออาการการอักเสบเกร็งตรงบริเวณ intertrochanteric line ส่วนยึดเอ็น iliofemoral (ligament) ห่อหุ้มบริเวณหัวของกระดูกต้นขาเข้ากับเบ้าของกระดูกเชิงกราน สำหรับการยืดหยุ่นเวลาการหมุนเคลื่อนไหวส่วนเข้าสู่แกนกลาง หรือการหุบต้นขา

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ