มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B82

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B82
หมายเลขหลุมฝังศพ
82
หมายเลขโครงกระดูก
82
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
?
วัย/อายุ
Infant, 2-3 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกทารก วางหงายเหยียดยาวตามแนวแกนทิศตะวันตก-ตะวันออก พื้นที่ PSN 2 กริด S13-14E13-14 ระดับชั้นดินสมมติ 240-260 (250-260) cm.dt. วางนอนทับอยู่บนส่วนกะโหลกศีรษะถึงกระดูกเชิงกรานของโครงกระดูกผู้ใหญ่ เพศชาย หลุมฝังศพหมายเลข 083 สภาพถูกรบกวนมากโดยเฉพาะช่วงกลางลำตัว กะโหลกศีรษะ และปลายเท้า ศพถูกมัดส่วนข้อเท้า ตรงส่วนปลายเท้าพบร่องรอยหลุมทรงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 27 เซนติเมตร ตัดผ่านกระดูกส่วนนี้หายไป พบร่วมกับภาชนะดินเผาจำนวน 2 ใบ บริเวณหน้าอกขวา 1 ใบ และด้านหลังของกะโหลกศีรษะอีก 1 ใบ กำหนดอายุราวสมัยต้นวัฒนธรรมบ้านเชียง

สภาพโครงกระดูกพบค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ส่วนใหญ่ชำรุด แตกหัก นำมาใช้ศึกษาได้เพียงร้อยละ 25-30 ตามสภาพ คือ กะโหลกศีรษะบนค่อนข้างสมบูรณ์ ขาดหายในส่วนเบ้าตา ขากรรไกรบนซ้าย และบางส่วนทางด้านซ้ายของศีรษะ ก้านกระดูกไหปลาร้าซ้ายด้านที่เชื่อมต่อกับกระดูกสะบัก ลำตัวกระดูกสะบักซ้ายและขวา ก้านกระดูกต้นแขนซ้ายสภาพสมบูรณ์และด้านขวาสภาพชำรุด ก้านกระดูกปลายแขนด้านนอกซ้ายและขวาสมบูรณ์ ก้านกระดูกปลายแขนด้านในซ้ายชำรุด และด้านขวาสภาพสมบูรณ์ กระดูกสันหลังช่วงคอ ลำตัว และเอวที่ยังไม่มีการเชื่อมระหว่างลำตัวและ spine ของกระดูก บางส่วนของกระดูกซี่โครงซ้ายและขวาชำรุดแตกหัก ลำตัวกระดูกเชิงกราน ilium ซ้ายและขวา ก้านกระดูกต้นขาซ้ายสภาพเกือบสมบูรณ์ ก้านกระดูกหน้าแข้งซ้ายและขวาชำรุดแตกหัก กับก้านกระดูกน่องขวา สภาพชำรุดในส่วนหัวและปลายกระดูก

ร่องรอยผิดปกติที่พบบนกระดูก

1. ด้านหน้าของก้านกระดูกปลายแขนด้านในขวา ก้านกระดูกหน้าแข้งขวาบริเวณส่วนปลายก้านด้านใกล้กลาง กับก้านกระดูกน่องซ้าย บริเวณกลางก้านกระดูกด้านหน้า ทั้งสามส่วนพบรอยสับตัดคล้ายร่องรอยการถูกรบกวนจากสัตว์ เกิดจากการรบกวนในกระบวนการทับถมและการย่อยสลายภายหลังการเสียชีวิต

2. กระดูกน่องขวา บริเวณส่วนกลางถึงปลายก้านกระดูก พบรูปทรงกระดูกสร้างรูปผิดปกติ (deformation) ลักษณะคดโค้งคล้ายกระดูกปลายแขนด้านใน เป็นร่องรอยของโรคที่เกิดจากบาดแผลและการบาดเจ็บประเภทหนึ่ง อาจเกิดขึ้นได้จากการกระทำใด ๆ ส่งผลให้กระดูกเกิดรูปทรงผิดปกติได้ เช่น การสวมใส่เครื่องประดับขนาดเล็กที่มัดกระดูกแน่นตั้งแต่เด็ก หรือสวมใส่เครื่องประดับที่มีน้ำหนักมาก แต่ทั้งนี้ลักษณะดังกล่าวไม่พบในส่วนกระดูกหน้าแข้งขวาแต่อย่างใด

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ