มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : ฺBC-PSN_2003_B83

รหัสข้อมูล
ฺBC-PSN_2003_B83
หมายเลขหลุมฝังศพ
83
หมายเลขโครงกระดูก
83
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
Male
วัย/อายุ
Young adult, 22-23 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกนอนหงายเหยียดยาวตามแนวแกนทิศตะวันตกเฉียงใต้-ตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ PSN 2 กริด S13-14E13-14 ระดับชั้นดินสมมติ 260-270 (263-268) cm.dt.

โครงกระดูกชำรุด ถูกรบกวนอย่างมาก บริเวณกะโหลกศีรษะ พบหลุมทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 27 เซนติเมตรตัดผ่านกระดูกขาดหายไป เหลือเพียงกระดูกขากรรไกรล่างเท่านั้น กระดูกซี่โครงและกระดูกสันหลังสภาพชำรุด เปื่อยยุ่ย ศพถูกมัดบริเวณปลายเท้า ไม่พบร่วมกับวัตถุอุทิศแต่น่าจะสัมพันธ์ร่วมกับหลุมฝังศพหมายเลข 082 กำหนดอายุราวสมัยต้นวัฒนธรรมบ้านเชียง

สภาพกระดูกชำรุดมากจากการรบกวนด้วยกิจกรรมอื่นๆ (หลุมเสา?) สามารถศึกษาได้ราวร้อยละ 45-50 ทั้งนี้พบเฉพาะกระดูกขากรรไกรล่าง กระดูกไหปลาร้าซ้ายและขวาสภาพชำรุด ลำตัวกระดูกสะบักซ้ายและขวา กระดูกต้นแขนซ้ายส่วนปลายกระดูกแตกหัก กระดูกปลายแขนด้านนอกและด้านในซ้ายชำรุดแตกหักส่วนปลาย บางส่วนของกระดูกข้อมือ ฝ่ามือ และนิ้วมือซ้าย กระดูกสันหลังช่วงคอชิ้นที่ 6-7 กระดูกสันหลังช่วงลำตัวชิ้นที่ 1 และ 12 และกระดูกสันหลังช่วงเอวชิ้นที่ 2 กระดูกกระเบนเหน็บ บางส่วนของกระดูกซี่โครงซ้ายและขวา กระดูกเชิงกรานซ้ายและขวาสภาพชำรุดแตกหัก กระดูกต้นขาซ้ายและขวา กระดูกหน้าแข้งและกระดูกน่องซ้ายและขวา กับบางส่วนของกระดูกข้อเท้า ฝ่าเท้า และนิ้วเท้าทั้งสองข้าง

ร่องรอยผิดปกติที่พบบนกระดูก

1. กระดูกไหปลาร้าขวา บริเวณ conoid tubercle ปรากฏลักษณะ scapular facet หรือผิวด้านประกบเรียบเข้ากับส่วนของ coracoid process ของกระดูกสะบักขวา เป็นลักษณะหนึ่งเกิดขึ้นเมื่อส่วนกระดูกไหปลาร้าและกระดูกสะบักยังไม่มีการเชื่อมต่อสนิทระหว่างส่วน diaphyses กับ epiphyses สามารถประเมินอายุเมื่อตายของโครงกระดูกได้ต่ำกว่า 22 ปี

2. กระดูกปลายแขนด้านในซ้าย บริเวณpronator ridgeพบรอยเกาะกล้ามเนื้อค่อนข้างชัดและลึก น่าจะเกิดจากแรงแค้นการกระทำส่วนกล้ามเนื้อ pronatorquadratus (muscle) ซึ่งช่วยในการคว่ำมือ

3. กระดูกเชิงกรานซ้ายและขวา บริเวณด้านหลังเหนือเบ้ากระดูก หรือ gluteal line ตรงส่วน inferior gluteal line ผิวกระดูกค่อนข้างขรุขระผิดปกติ เช่นเดียวกับขอบนอกของ acetabulum ซึ่งน่าจะเกิดจากแรงกระทำหรือแรงกดของส่วนกล้ามเนื้อ gluteal (muscle) ที่ทำหน้าที่สำหรับการยืด กาง และหมุนต้นขาออกจากเชิงกรานและแกนลำตัว สอดคล้องกับร่องรอยผิดปกติบริเวณ gluteal line หรือ tuberosity ของกระดูกต้นขาซ้ายและขวา มีรอยกดกล้ามเนื้อดังกล่าวเป็นแอ่งลึกเช่นกัน

4. กระดูกหน้าแข้งซ้ายและขวา บริเวณส่วนด้านไกลกลางของหัวกระดูก ปรากฏลักษณะ fibula facet หรือผิวด้านประกบเรียบเข้ากับส่วนหัวกระดูกน่อง เป็นลักษณะที่ส่วนหัวและปลายก้านกระดูกยังไม่มีการเชื่อมต่อสนิท ประเมินอายุเมื่อตายของเจ้าของโครงกระดูกได้ต่ำกว่า 23 ปี

5. กระดูกน่องซ้าย บริเวณส่วนด้านหน้าใกล้กับหัวกระดูก พบกระดูกงอกจำนวน 2 จุด มีขนาดประมาณกว้าง 3 มิลลิเมตร ยาว 3 มิลลิเมตร สำหรับจุดที่ 1 และกว้าง 4 มิลลิเมตร ยาว 10 มิลลิเมตร สำหรับจุดที่ 2ทั้งสองจุดที่ นั้นน่าจะเป็นรอยสมานเนื้อกระดูกหลังได้รับอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บบางประการที่ส่งผลให้กระดูกได้รับการกระแทกและเกิดการชำรุด หรือร้าวเป็นจุดเล็ก ๆ ก่อนจะได้รับการสมานโดยกลไกป้องกันของร่างกายภายหลัง

6. กระดูกข้อเท้า calcaneus ขวา บริเวณ medial side of sustentaculum tali พบรอยสับตัดเฉือนกระดูกหายไปเป็นรูปครึ่งวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.2 มิลลิเมตร น่าจะเป็นลักษณะเกิดขึ้นหลังการเสียชีวิต ซึ่งอาจจะถูกรบกวนจากการขุดเพื่อฝังศพโครงกระดูกในบริบทใกล้เคียง หรือเพื่อการใช้พื้นที่ในกรณีอื่นก็เป็นได้

7. กระดูกฝ่าเท้าขวาชิ้นที่ 2-5 (นิ้วชี้-นิ้วก้อย) บริเวณส่วนปลายหัวกระดูก พบกระดูกงอกสร้างทับผิวกระดูกเดิม เป็นลักษณะเกิดจากการติดเชื้อบาดแผลภายนอก (หลังเท้า) แล้วติดเชื้อลามสู่กระดูก ส่งผลให้เกิดการอักเสบส่วนเยื่อหุ้มกระดูกในที่สุด

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ