มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B84

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B84
หมายเลขหลุมฝังศพ
84
หมายเลขโครงกระดูก
84
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
?
วัย/อายุ
Adolescence, 14-16 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกฝังท่านอนหงายเหยียดยาวตามแนวแกนทิศตะวันตกเฉียงใต้-ตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ PSN 2 กริด S11E12-13 ระดับชั้นดินสมมติ 240-270 (247-264) cm.dt.

สภาพโครงกระดูกค่อนข้างชำรุด ถูกรบกวนมากไม่เรียงตามหลักสรีระกายภาพของมนุษย์ พบรอยโรคโลหิตจางบริเวณเบ้าตาขวา (Cribra orbitalia) และท้ายทอย (Cranial porotic hyperostosis) ศพถูกมัดบริเวณหัวเข่า พบร่วมกับภาชนะดินเผาจำนวน 2 ใบ เป็นภาชนะดินเผาทรงถัง ก้นตัดคล้ายแก้วเบียร์ตกแต่งด้วยลายกดประทับ 1 ใบ และภาชนะดินเผาทรงกลม 1 ใบบริเวณปลายเท้าของศพ ก้อนแลงขนาดใหญ่ 3 ก้อนวางเหลื่อมซ้อนทับกัน โดยอาจจะสัมพันธ์กับความเชื่อในพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย หรือความเชื่อเรื่องการตายในลักษณะผิดปกติ กำหนดอายุราวสมัยต้นวัฒนธรรมบ้านเชียง

สภาพโครงกระดูกค่อนข้างดี พบเกือบสมบูรณ์ สามารถศึกษาได้ราวร้อยละ 70-75 ไม่พบในส่วนกระดูกลิ้นปี่ กระดูกสันหลังช่วงลำคอชิ้นที่ 1-2 กระดูกสันหลังช่วงลำตัวชิ้นที่ 11-12 กับกระดูกสันหลังช่วงเอวชิ้นที่ 1-3 และชิ้นที่ 5 กระดูกกระเบนเหน็บชิ้นที่ 2-5 กระดูก ischium และ pubic ของกระดูกเชิงกรานซ้ายและขวา กระดูกสะบ้าซ้ายและขวา บางส่วนของกระดูกข้อมือ นิ้วมือ ข้อเท้า นิ้วเท้า กับกระดูกซี่โครงซ้ายและขวา

กระดูกที่พบ บางส่วนมีลักษณะชำรุดแตกหัก ได้แก่ ลำตัวกระดูกสะบักซ้ายและขวา ปลายกระดูก (acromiom end) ไหปลาร้าซ้ายและขวา ปลายกระดูกต้นแขนซ้ายและขวา ปลายกระดูกปลายแขนด้านนอกและด้านในขวา หัวกระดูกต้นขาซ้ายและขวา ปลายกระดูกน่องซ้าย กับบางส่วนของกระดูกซี่โครง

ร่องรอยผิดปกติที่พบบนกระดูก

1. กระดูกซี่โครงขวาชิ้นที่ 6 หรือ 7 บริเวณส่วนริมสันล่างด้านนอก (anterior caudal lower edge) ผิวกระดูกค่อนข้างขรุขระเกิดขึ้นจากสภาวะการสมานของส่วนกระดูกภายหลังการบาดเจ็บอย่างใดอย่างหนึ่ง

2. ก้านกระดูกฝ่าเท้าซ้ายชิ้นที่ 3 พบรอยแตกแนวยาวของก้านกระดูก เป็นลักษณะที่เกิดขึ้นภายหลังการเสียชีวิตของโครงกระดูก โดยเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ เช่น สภาวะการสูญเสียน้ำของกระดูกอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดรอยร้าวตามแนวยาวของกระดูก (Byers 2005)

3. ด้านบนของผนังเบ้าตาซ้ายและขวาหนาและพรุนผิดปกติ (Cribra orbitalia) และรูพรุนบนผิวกะโหลกศีรษะด้านนอก ทั้งกระดูกข้างขม่อมซ้ายและขวา (parietal) กับส่วนท้ายทอย (Cranial porotic hyperostosis) แสดงถึงภาวะโลหิตจางของโครงกระดูก

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ