มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B86

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B86
หมายเลขหลุมฝังศพ
86
หมายเลขโครงกระดูก
86
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
?
วัย/อายุ
ํYoung adult, >23 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกผู้ใหญ่ วางนอนหงายเหยียดยาวตามแนวแกนทิศตะวันตก-ตะวันออก พื้นที่ PSN1 กริด S2E16 ระดับชั้นดินสมมติ 240-250 (242-248) cm.dt.

สภาพทั่วไปชำรุดและถูกรบกวนมาก พบเพียงส่วนล่างของร่างกายตั้งแต่กระดูกต้นขาเป็นต้นมา ศพถูกมัดบริเวณหัวเข่าและข้อเท้า พบร่วมกับกลุ่มภาชนะดินเผาจำนวน 2 ใบวางหงายทับอยู่บริเวณหัวเข่าและปลายโครงกระดูก กำหนดอายุราวสมัยต้นวัฒนธรรมบ้านเชียง

โครงกระดูกพบไม่สมบูรณ์ ใช้ศึกษาได้ร้อยละ 5-10 ในส่วนการประเมินอายุเมื่อตายและร่องรอยผิดปกติที่พบ โดยพบกระดูกตามสภาพเบื้องต้น คือ กระดูกต้นขาซ้ายและขวาชำรุด ส่วนหัวและปลายกระดูกแตกหักหาย กระดูกสะบ้าซ้ายสภาพสมบูรณ์ กระดูกหน้าแข้งซ้ายและขวา สภาพเกือบสมบูรณ์ยกเว้นบางส่วนของหัวกระดูกชำรุดแตกหัก กระดูกน่องซ้ายชำรุดพบเฉพาะส่วนหัวถึงก้านกระดูกเท่านั้น

ร่องรอยผิดปกติที่พบบนกระดูก

1. กระดูกน่องซ้าย บริเวณสันก้านกระดูกหรือ interosseus crest ใกล้กับ nutrient foramen พบกระดูกงอกผิดปกติ เป็นปุ่มขนาดกว้างประมาณ 0.4 เซนติเมตร ยาว 1.1 เซนติเมตร เกิดขึ้นจากการสมานเนื้อกระดูกภายหลังการบาดเจ็บหรือการกระแทกส่งผลให้กระดูกเกิดการชำรุด แตกร้าว

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ