มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B89

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B89
หมายเลขหลุมฝังศพ
89
หมายเลขโครงกระดูก
89
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
Female
วัย/อายุ
Young adult, 20-25 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกฝังนอนหงายเหยียดยาวตามแนวแกนทิศตะวันตกเฉียงใต้-ตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ PSN 1 กริด S9E14-15 ระดับชั้นดินสมมติ 270-280 (274-279) cm.dt.

สภาพโครงกระดูกค่อนข้างสมบูรณ์พบร่วมกับภาชนะดินเผาก้นกลม ลายเชือกทาบ จำนวน 1 ใบ วางรองใต้กระดูกเชิงกรานของศพ กำหนดอายุราวสมัยต้นวัฒนธรรมบ้านเชียง

สภาพโดยรวมค่อนข้างสมบูรณ์ มีคุณภาพค่อนข้างดี สามารถนำมาศึกษาได้ร้อยละ 60-65 ไม่พบส่วนกระดูกไหปลาร้าซ้ายและขวา กระดูกลิ้นปี่ กระดูกสันหลังช่วงลำคอชิ้นที่ 1 และชิ้นที่ 3-7 กระดูกสันหลังช่วงลำตัวชิ้นที่ 1-2 และ 5-8 กระดูกสันหลังช่วงสะโพกชิ้นที่ 1 กระดูกซี่โครงบางส่วนทางด้านซ้ายและขวา กระดูกปลายแขนด้านนอกและด้านในขวา กระดูกข้อมือ ฝ่ามือ และนิ้วมือขวา และบางส่วนของกระดูกนิ้วมือ ฝ่ามือ และข้อมือซ้าย กระดูกสะบ้าซ้ายและขวา กระดูกน่องซ้าย กับบางส่วนของกระดูกข้อเท้า ฝ่าท้า และกระดูกนิ้วเท้าทั้งสองข้าง

ร่องรอยผิดปกติที่พบบนกระดูก

1. กระดูกซี่โครงซ้ายชิ้นที่ 10-11 (บริเวณชายโครง) ตรงส่วนขอบล่างของซี่โครง (caudal (lower) edge) ผิวขรุขระผิดปกติ รวมถึงพบกระดูกงอกตรงขอบใน น่าจะเป็นลักษณะของกระดูกที่ซ่อมสมานเนื้อกระดูก ภายหลังเกิดการกระแทกหรือได้รับบาดเจ็บจนกระดูกร้าวหรือแตกหัก

2. กระดูกหน้าแข้งขวา ส่วนปลายกระดูกด้านหลัง มีการงอกของกระดูกผิดปกติ ตามแนวรอบเกาะกล้ามเนื้อ soleal ใช้ในการเหยียดข้อเท้าและปลายเท้า อาจเกิดได้ใน 2 สาเหตุด้วยกัน คือ (1) สาเหตุจากการใช้งานส่วนกล้ามเนื้ออย่างหนัก สม่ำเสมอในระยะเวลายาวนาน หรือ (2) การอักเสบจากการใช้งานหรืออุบัติเหตุ ก่อให้เกิดกระดูกงอกที่ไม่เป็นอันตรายต่อโครงกระดูกก็เป็นได้

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ