มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B91

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B91
หมายเลขหลุมฝังศพ
91
หมายเลขโครงกระดูก
91
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
Female
วัย/อายุ
Middle adult, 35-40 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกฝังตามแนวแกนทิศตะวันตกเฉียงใต้-ตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ PSN 2 กริด S11-12E14-15 ระดับชั้นดินสมมติ 260-280 (262-276) cm.dt.

โครงกระดูกสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ยกเว้นบางส่วนของกระดูกถูกรบกวนจากหลุมฝังศพหมายเลข 092 ทางด้านซ้ายของโครงกระดูก ไม่พบร่วมกับวัตถุอุทิศ กำหนดอายุราวสมัยต้นวัฒนธรรมบ้านเชียง

สภาพโดยรวมค่อนข้างสมบูรณ์ สามารถนำมาศึกษาได้ร้อยละ 65-70 ไม่พบส่วนกระดูกลิ้นปี่ บางส่วนของกระดูกซี่โครง กระดูกสันหลังช่วงลำคอชิ้นที่ 1, 3 และ 5 กระดูกสันหลังช่วงลำตัวชิ้นที่ 3-4 และ 11 กับบางส่วนของกระดูกข้อมือ ฝ่ามือ และนิ้วมือ และกระดูกข้อเท้า ฝ่าเท้า และนิ้วเท้าทั้งสองข้าง สภาพกระดูกคุณภาพค่อนข้างดี พบการชำรุดแตกหักบางส่วน คือ กระดูกไหปลาร้าซ้ายแตกหักในด้านที่เชื่อมต่อเข้ากับกระดูกลิ้นปี่ ลำตัวกระดูกสะบักซ้ายและขวา ปลายกระดูกปลายแขนด้านนอกและด้านในซ้าย หัวกระดูกต้นขาซ้ายและขวา ปลายกระดูกต้นขาขวา แกนบนกระดูกน่องขวา แนวขอบกับบางส่วนของกระดูกเชิงกรานซ้ายและขวา และช่วงข้อกลางของกระดูกกระเบนเหน็บ

ร่องรอยผิดปกติที่พบบนกระดูก

1. บริเวณ cunoid tubercle กระดูกไหปลาร้าขวา มีการเชื่อมต่อของกระดูกภายหลังจากการบาดเจ็บส่วนก้านกระดูกด้านหน้าของไหปลาร้าขวา ด้านที่ต่อกับ sternal end มีลักษณะหน้าตัดกระดูกค่อนเป็นรูปสามเหลี่ยม น่าจะเกิดจากแรงดึงหรือแรงแค้นจากการกระทำของกล้ามเนื้อ pectoralis major หรือกล้ามเนื้อรูปคล้ายพัดบริเวณช่วงหน้าอก ช่วยสำหรับหุบ งอ และหมุนต้นแขนเข้าข้างใน รั้งมาข้างหน้า และกดไหล่ให้อยู่กับที่ (สนั่น สุขวัจน์ 2515)

2. กระดูกสะบักซ้ายและขวา บริเวณ infraglenoid tubercle ผิวค่อนข้างหนา ขรุขระ และเป็นแอ่งรอยกดกระดูกเกิดจากการอักเสบหรือแรงแค้นจากการกระทำของกล้ามเนื้อ triceps brachi (muscles) ที่ใช้ในการเหยียดปลายแขนและข้อศอก (สนั่น สุขวัจน์ 2515)

3. กระดูกปลายแขนด้านในและด้านนอก บริเวณสันแบ่งระหว่าง (ด้านหน้าและด้านหลัง) ก้านกระดูกหรือ interosseus crest มีลักษณะยื่น (และโค้ง) มากกว่าปกติ อาจเกิดจากส่วนเนื้อเยื่อกั้นกลางระหว่างกระดูก (interosseus membrane) อักเสบ หรือถูกใช้งานส่วนข้อมืออย่างหนักและสม่ำเสมอ ส่งผลให้กระดูกบริเวณดังกล่าวถูกสร้างขึ้นมาโดยมีขนาดหนาและโค้งกว่าโดยทั่วไป

4. ส่วน medial articular facet ของกระดูกสะบ้าทั้งสองข้าง พบการงอกของกระดูกขนาดกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร เกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกันทั้งการอักเสบของกล้ามเนื้อ การงอกที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของด้านในข้อต่อหัวเข่า หรือลักษณะผิดปกติของเนื้องอกที่ประกอบด้วยเนื้อกระดูก (osteoma) อันเกิดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อ อย่างใดอย่างหนึ่ง

5. กระดูกน่องซ้าย บริเวณด้านหลังด้านที่เชื่อมต่อกับหัวกระดูก มีลักษณะกระดูกงอก ผิวขรุขระ และโค้งเล็กน้อยผิดปกติ โดยสาเหตุอาจเป็นไปได้ใน 2 ประการสำคัญคือ (1) การสมานตามรอยแตกหักของกระดูก หรือ (2) การอักเสบหรือแรงแค้นจากการกระทำของกล้ามเนื้อsoleus ที่มีต้นกำเนิดอยู่บริเวณส่วนหลังของหัวกระดูกน่องใช้สำหรับการเหยียดข้อเท้าร่วมกับกระดูกหน้าแข้งและด้านหลังของกระดูกข้อเท้า calcaneus

6. กระดูกฝ่ามือซ้ายชิ้นที่ 1 (นิ้วโป้ง) และกระดูกฝ่าเท้าซ้ายชิ้นที่ 1 (นิ้วโป้ง) ผิวกระดูกค่อนข้างขรุขระ มีการงอกหรือการสร้างผิวกระดูกทับแนวกระดูกเดิม เกิดจากสาเหตุของโรคติดเชื้อจากบาดแผลภายนอกและส่งผลให้เยื่อหุ้มกระดูกเกิดการอักเสบ

7. กระดูกฝ่ามือขวาชิ้นที่ 5 (นิ้วก้อย) บริเวณหัวกระดูก พบรอยการสมานกระดูกส่งผลให้ส่วนหัวกระดูกด้านที่เชื่อมต่อกับกระดูกข้อมือมีรูปทรงคดงอและมีขนาดของก้านกระดูกผิดปกติ

8. กระดูกนิ้วเท้าขวาชิ้นที่1 ข้อสุดท้าย (distal phalange) หรือบริเวณใต้ปลายนิ้วโป้งขวา พบลักษณะเนื้อกระดูกหายไปเป็นแอ่งรูปวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5-0.8 เซนติเมตร คล้ายกับลักษณะกระดูกอักเสบจากเชื้อหนอง หรือการอักเสบของกระดูกพรุน (osteomyelitis) สาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (หนอง) จากแผลภายนอกที่ส่งผลโดยตรงต่อกระดูกก็เป็นได้ (Roberts and Manchester 2007)

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ