มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B97

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B97
หมายเลขหลุมฝังศพ
97
หมายเลขโครงกระดูก
97
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
Female
วัย/อายุ
Adolescence, 15-17 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกฝังนอนหงายเหยียดยาวตามแนวแกนทิศตะวันตก-ตะวันออก พื้นที่ PSN 1 กริด S5-6E13-14 ระดับชั้นดินสมมติ 310-330 (306-318) cm.dt.

สภาพค่อนข้างชำรุด ส่วนขวาของโครงกระดูกถูกรบกวนจากการขุดตัดเพื่อวางหลุมฝังศพหมายเลข 100 มีร่องรอยการมัดศพบริเวณหัวเข่าและข้อเท้า พบร่วมกับภาชนะดินเผาจำนวน 1 ใบ วางติดปลายขาซ้ายของโครงกระดูก กำหนดอายุราวสมัยต้นวัฒนธรรมบ้านเชียง

สภาพกระดูกค่อนข้างสมบูรณ์ สามารถประเมินศึกษาได้ราวร้อยละ 65-70 ไม่พบบางส่วนของกะโหลกศีรษะบน กระดูกสันหลังช่วงลำคอชิ้นที่ 1-7 กระดูกสันหลังช่วงลำตัวชิ้นที่ 2 กระดูกสะบ้าซ้าย บางส่วนของกระดูกข้อมือ ฝ่ามือ และนิ้วมือซ้ายและขวา บางส่วนของกระดูกข้อเท้า ฝ่าเท้า และนิ้วเท้าซ้ายและขวา กับบางส่วนของกระดูกสันหลังซ้ายและขวา สำหรับกระดูกที่พบมีสภาพค่อนข้างดี แต่มีบางส่วนชำรุดหักหาย ได้แก่ ลำตัวกระดูกสะบักซ้ายและขวา ปลายกระดูกปลายแขนด้านนอกซ้าย ปลายลำตัวของกระดูกลิ้นปี่ ปลายกระดูกหน้าแข้งและกระดูกน่องซ้าย กระดูกหัวเหน่าของกระดูกเชิงกรานซ้ายและขวา ส่วนกระดูกซี่โครงซ้ายและขวาที่พบมีสภาพชำรุดแตกหักบางส่วนเช่นกัน

ร่องรอยผิดปกติที่พบบนกระดูก

1. กระดูกไหปลาร้าซ้าย บริเวณ sternal end พบลักษณะกระดูกงอกที่มีสาเหตุจากการอักเสบของเนื้อเยื่อ ส่งผลให้ระบบการทำงานปกติถูกทำลายและเกิดเป็นปฏิกิริยาในกระบวนการหล่อเลี้ยง เกิดเป็นการงอกของกระดูก

2. กระดูกปลายแขนด้านในและด้านนอกซ้าย บริเวณสันแบ่งระหว่าง (ด้านหน้าและด้านหลัง) ก้านกระดูกหรือ interosseus crest มีลักษณะการยื่น (และโค้ง) และผิวกระดูกขรุขระมากกว่าปกติโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับด้านขวา อาจเกิดได้จากส่วนเนื้อเยื่อกั้นกลางระหว่างกระดูก (interosseus membrane) อักเสบหรือถูกใช้งานอย่างหนักและสม่ำเสมอ ส่งผลให้กระดูกมีขนาดหนา โค้ง และขรุขระกว่าลักษณะโดยปกติ (ข้างขวา)

3. กระดูกเชิงกรานขวาตรงผิวด้านนอกของส่วนก้านกระดูกที่เชื่อมต่อระหว่าง ilium กับ pubic หรือ iliopubic (iliopectineal) eminence พบกระดูกงอกเป็นปุ่มขนาดกว้าง 2-3 มิลลิเมตร น่าจะเกิดขึ้นด้วยแรงแค้นจากการกระทำของกล้ามเนื้อ psoas major (กล้ามเนื้อ) ที่เริ่มต้นจาก transverse process ของกระดูกสันหลังช่วงลำตัวชิ้นที่ 12 ถึงบริเวณ lesser trochanter ของกระดูกต้นขา ทำหน้าที่สำหรับการงอ หุบ และหมุนต้นขาเข้าด้านใน (สนั่น สุขวัจน์ 2515)

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ