มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B100

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B100
หมายเลขหลุมฝังศพ
100
หมายเลขโครงกระดูก
100
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
Male
วัย/อายุ
Middle adult, 35-40 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกถูกฝังนอนหงายเหยียดยาวตามแนวแกนทิศตะวันตก-ตะวันออก พื้นที่ PSN 1 กริด S5-6E12-14 ระดับชั้นดินสมมติ 300-320 (300-315) cm.dt.

โครงกระดูกถูกรบกวนมากโดยเฉพาะด้านซ้ายของโครงชำรุดหักหายไป สาเหตุจากการขุดตัดหลุมฝังศพหมายเลข 097 ซึ่งอยู่ทางด้านซ้ายของโครง พบร่วมกับภาชนะดินเผาจำนวน 2 ใบวางอยู่บนกระดูกต้นแขนขวากับกระดูกเชิงกรานข้างขวา และอีก 1 ใบวางอยู่ตอนบนของโครง กับชิ้นส่วนกระดองเต่าพบอยู่ทางด้านขวาของกระดูกต้นแขนขวา กำหนดอายุราวสมัยต้นวัฒนธรรมบ้านเชียง

สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ สามารถนำมาศึกษาได้ร้อยละ 60-65 กระดูกค่อนข้างแข็งแรง ไม่พบส่วนกะโหลกศีรษะบน กระดูกสันหลังช่วงลำคอ และกระดูกสันหลังช่วงลำตัวชิ้นที่ 1 กระดูกปลายแขนด้านนอกซ้าย กระดูกสะบ้าซ้าย และบางส่วนของกระดูกข้อมือ นิ้วมือ กระดูกข้อเท้า นิ้วเท้าทั้งสองข้าง และบางส่วนของกระดูกซี่โครงทั้งซ้ายและขวา ส่วนกระดูกที่พบ ขากรรไกรล่างชำรุดแตกหักออกเป็น 2 ส่วน ขอบแนวกระดูกเชิงกรานทั้งสองข้างแตกหักหาย หัวบนของกระดูกหน้าแข้งและกระดูกน่องขวาชำรุดหักหาย

ร่องรอยผิดปกติที่พบนบนกระดูก

1. กระดูกไหปลาร้าขวา บริเวณส่วนปลายด้านที่เชื่อมต่อกับกระดูกสะบักขวา (acromion end) มีกระดูกงอก จากสาเหตุกล้ามเนื้ออักเสบหรือการใช้งานอย่างหนักและสม่ำเสมอของกล้ามเนื้อ deltoid หรือ deltoideus มีหน้าที่ในการยกและกางแขนขึ้นเป็นมุมฉาก (สนั่น สุขวัจน์ 2515)

2. บริเวณปลายของ body ของกระดูกลิ้นปี่ พบกระดูกถูกเจาะเป็นรู (cleft dternum) เป็นลักษณะหนึ่งแสดงถึงอาการผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิด (congenital anomaly) (Byers 2005)

3. กระดูกซี่โครงขวาชิ้นที่ 10-11 ส่วนขอบล่างด้านใน (caudal (lower) edge) มีผิวกระดูกขรุขระ เป็นลักษณะกระดูกที่ซ่อมสมานเนื้อกระดูกภายหลังเกิดการกระแทกหรือได้รับบาดเจ็บจนกระดูกร้าวหรือแตกหัก

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ