มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

แหล่งโบราณคดี : วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง

รหัสข้อมูล : BC-PSN_2003_B104

รหัสข้อมูล
BC-PSN_2003_B104
หมายเลขหลุมฝังศพ
104
หมายเลขโครงกระดูก
104
หมายเลขตัวอย่าง
หลุมขุดค้น
วัดโพธิ์ศรีใน
แหล่งโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน, บ้านเชียง
ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด
อุดรธานี
ลุ่มน้ำ
สงคราม
โครงการ
โครงการวิจัยมานุษยวิทยากายภาพและโบราณคดีเชิงชีววิทยาในประเทศไทย
เพศ
Male
วัย/อายุ
Young adult, 25-35 yrs.
สภาพโครงกระดูก

โครงกระดูกน่าจะวางนอนหงายเหยียดยาวตามแนวแกนทิศใต้-เหนือ พื้นที่ PSN3 กริด S9E6 ระดับชั้นดินสมมติ 190-210 (195-204) cm.dt.

โครงกระดูกพบจากการขุดขยายแนวผนังหลุมด้านทิศเหนือของ PSN 3 สภาพชำรุดพบเฉพาะกระดูกขากรรไกรล่าง กระดูกลำตัวช่วงบนด้านขวา กับกระดูกข้อเท้า ฝ่าเท้า และปลายเท้าซ้ายและขวา ไม่พบร่วมกับวัตถุอุทิศอย่างใด กำหนดอายุเบื้องต้นราวสมัยต้นวัฒนธรรมบ้านเชียง

สภาพกระดูกชำรุดและพบเพียงบางส่วนของร่างกาย สามารถใช้ศึกษาได้ร้อยละ 5-10 ในส่วนการประเมินเพศ อายุเมื่อตาย และร่องรอยผิดปกติเท่านั้น ตามสภาพเบื้องต้น คือ กระดูกขากรรไกรล่างสภาพสมบูรณ์ กระดูกสันหลังช่วงลำคอชิ้นที่ 1-2 สภาพสมบูรณ์ กระดูกไหปลาร้าขวาชำรุด หัวและปลายกระดูกแตกหัก กระดูกสะบักขวาชำรุดพบเฉพาะลำตัวกระดูก กระดูกต้นแขนขวาชำรุด หัวกระดูกแตกหัก บางส่วนของกระดูกซี่โครงขวาชำรุด กับกระดูกข้อเท้า ฝ่าเท้า และนิ้วเท้าซ้ายกับขวา สภาพส่วนใหญ่ค่อนข้างสมบูรณ์

ร่องรอยผิดปกติที่พบบนกระดูก

1. กระดูกไหปลาร้าขวา บริเวณผิวกระดูกด้านที่เชื่อมต่อกับกล้ามเนื้อ deltoideus (muscle) พบกระดูกงอกผิดปกติ เกิดจากการอักเสบหรือแรงแค้นการกระทำของกล้ามเนื้อ deltoid หน้า (anterior fiber) ใช้สำหรับการเคลื่อนไหวออกจากแกนกลางของหัวไหล่

ผู้วิเคราะห์
กรกฎ บุญลพ และนฤพล หวังธงชัยเจริญ
สถาบัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันที่วิเคราะห์

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ