มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

การศึกษาลักษณะทางกายวิภาคของกระดูกโคนลิ้นในประชากรไทย เพื่อใช้ในการระบุเพศ

ชื่อเรื่อง
การศึกษาลักษณะทางกายวิภาคของกระดูกโคนลิ้นในประชากรไทย เพื่อใช้ในการระบุเพศ
ผู้แต่ง
ดลบันดาล เศวตวงศ์
ประเภทเอกสารวิชาการ
วิทยานิพนธ์
ภาษา
ไทย
ตำแหน่งของเอกสาร
ปี
2012
วันที่
เผยแพร่
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
หัวเรื่อง
บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างทางกายวิภาคระหว่างเพศชายและเพศหญิงกรณีต้องการระบุเพศจากศพ โดยใช้กระดูกโคนลิ้น เนื่องจากเป็นกระดูกที่มีโอกาสแตกหักเสียหายและถูกทำลายได้น้อย นอกจากนี้ในระบบสืบสวนสอบสวนและกระบวนการยุติธรรม ความรู้ทางด้านกายวิภาคและกลไกร่างกายมนุษย์สามารถนำมาใช้อ้างอิงกับศาลได้

กระดูกโคนลิ้นที่นำมาทำการศึกษาในครั้งนี้ นำมาจากห้องปฏิบัติการกายวิภาค ภาควิชากายวิภาคศาสสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple random sampling) มีจำนวน 61 ชิ้น เป็นเพศชายจำนวน 38 ชิ้น เพศหญิง 23 ชิ้น ในช่วงอายุตั้งแต่ 21-99 ปี ทำการวัดทั้งหมด 17 จุด นำค่าที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีทางคณิตศาสตร์โดยใช้สถิติการจำแนก (Discriminant Analysis) ผลการวัดกระดูกโคนลิ้นของเพศชายและเพศหญิง พบว่าบริเวณ body มีค่าความแตกต่างกันของตัวแปรในทุกจุด โดยทั้งจุด M3 M4 M5 M16 และ M17 พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ส่วนบริเวณ greater cornu ข้างขวา ที่จุด M2 และ M11 พบว่าความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.000) โดยจุดที่มีค่าความถูกต้องเฉลี่ยในเพศชายและเพศหญิงสูงสุด คือ M4 คิดเป็น 83.6% หลังทำการทดสอบด้วยค่าสถิติ chi-square ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 พบว่า เพศและการเชื่อมปิดของกระดูกโคนลิ้นในประชากรไทยไม่มีความสัมพันธ์กัน

เอกสารฉบับเต็ม