มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

PREHISTORIC HUMAN REMAINS FROM NON PA KLUAY, NORTHEAST THAILAND

ชื่อเรื่อง
PREHISTORIC HUMAN REMAINS FROM NON PA KLUAY, NORTHEAST THAILAND
ผู้แต่ง
ไมเคิล ปิทรูซิวสกี
ประเภทเอกสารวิชาการ
รายงานวิจัย
ภาษา
อังกฤษ
ตำแหน่งของเอกสาร
ปี
1988
วันที่
เผยแพร่
ภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยโอทาโก ประเทศนิวซีแลนด์
หัวเรื่อง
บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงกระดูกมนุษย์ที่แหล่งโบราณคดีโนนป่ากล้วย จังหวัดขอนแก่น จากการขุดค้นเมื่อ พ.ศ. 2527-2528 จำนวน 19 โครง กำหนดอายุประมาณ 1,800-4,000 ปีมาแล้ว สมัยโลหะตอนต้น

ผลการศึกษาพบว่าเป็นโครงกระดูกวัยทารกจนถึงวัยผู้ใหญ่ สามารถประเมินเพศได้ 15 โครง แบ่งเป็นเพศชาย 6 โครง และเพศหญิง 9 โครง ประชากรมีอายุขัยคาดคะเน 24.6 ปี กะโหลกศีรษะมีรูปทรงกลม ค่อนข้างยาวและกว้าง ใบหน้าตรง เพดานปากกว้าง กระดูกขากรรไกรล่างแบบ “rocker jaw” ฟันมีขนาดค่อนข้างเล็กกว่าคนไทยปัจจุบัน ฟันตัดลักษณะเป็นรูปพลั่ว บางโครงพบฟันรูปหมุด และการเรียงตัวของฟันแบบไม่เป็นระเบียบ รวมถึงการพบรอยโรคฟันผุ เหงือกอักเสบ และฟันคุด

การประเมินความสูงของเพศชายระหว่าง 162-173 เซนติเมตร และเพศหญิงสูงประมาณ 140-163 เซนติเมตร โดยเฉลี่ยของกลุ่มประชากรมีสัดส่วนกระดูกปลายแขนสั้นกว่ากระดูกต้นแขน โครงกระดูกส่วนใหญ่พบรอยโรคข้อกระดูกสันหลังและข้อกระดูกเสื่อม รวมถึงรอยโรคกะโหลกศีรษะบนหนาและพรุนผิดปกติ ที่อาจเกิดจากภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยภาพรวมโครงกระดูกมนุษย์ที่แหล่งโบราณคดีโนนป่ากล้วยมีลักษณะทางกายภาพคล้ายคลึงกับประชากรยุคก่อนประวัติศาสตร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย