มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

รายงานการวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์แหล่งโบราณคดีเมืองเสมา ตำบลสูงเนิน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2543

ชื่อเรื่อง
รายงานการวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์แหล่งโบราณคดีเมืองเสมา ตำบลสูงเนิน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2543
ผู้แต่ง
นัทธมน ภู่รีพัฒน์พงศ์
ประเภทเอกสารวิชาการ
รายงานวิจัย
ภาษา
ไทย
ตำแหน่งของเอกสาร
ปี
2001
วันที่
เผยแพร่
สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 9 นครราชสีมา (ปัจจุบันคือสำนักงานศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา)
หัวเรื่อง
บทคัดย่อ

รายงานนำเสนอผลการวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของโครงกระดูก ด้วยการสังเกตด้วยตาเปล่าและวิธีการทางรังสีวิทยา ตัวอย่างโครงกระดูกมนุษย์จำนวน 53 โครง จากหลุมขุดค้น S5W97 และ S86E159 แหล่งโบราณคดีเมืองเสมา ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ใน พ.ศ. 2543-2544 โดยสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 9 นครราชสีมา (ปัจจุบันคือสำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา)

ผลการศึกษาพบเป็นโครงกระดูกทารก-เด็ก มีอายุการตายในช่วงปริกำเนิดถึง 15 ปี จำนวน 30 โครง ผู้ใหญ่เพศชาย 11 โครง เพศหญิง 12 โครง และจำแนกเพศไม่ได้ 1 โครง มีอัตราการตายของทารก-เด็กสูงกว่าผู้ใหญ่ 1.3 เท่า และผู้ใหญ่ส่วนใหญ่เสียชีวิตลงในช่วงวัยหนุ่มสาว อายุประมาณ 20-35 ปี ค่าความสูงโดยเฉลี่ยของเพศชาย 164-169 เซนติเมตร และเพศหญิงสูงเฉลี่ย 155-162 เซนติเมตร (สมการคนอเมริกันผิวขาว : Trotter & Gleser, 1952 และสมการคนไทยจีน : ภัทราภรณ์ ธีรรัตน์กุล และสมุทร รักวานิชพงศ์, 2525; สรรใจ แสงวิเชียร และคณะ, 2528)

ลักษณะกายภาพโดยเฉลี่ยของโครงกระดูกพบกะโหลกศีรษะแคบและยาว ใบหน้าและจมูกแบนกว้าง และเพดานปากค่อนข้างลึก โครงกระดูกบางโครงพบลักษณะของฟันตัดรูปพลั่ว รอยโรคในช่องปากพบฟันผุ การสูญเสียฟันขณะมีชีวิต ฟันคุด และการสึกของฟันระดับปานกลาง-มาก ส่วนรอยโรคบนกระดูกพบลักษณะของ fibrous dysplasia ภาวะโรคกระดูกอ่อน กระดูกอักเสบ ภาวะของโรคโลหิตจางเรื้อรัง และการเสื่อมสภาพของข้อกระดูก